Page 69 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 69

59


                       วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สามารถวัดได้ 2 แบบ ตามจุดมุ่งหมายและลักษณะวิชาที่สอน

                       คือ

                                            1. การวัดด้านปฏิบัติ เป็นการตรวจสอบระดับความสามารถในการ

                       ปฏิบัติหรือทักษะของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถดังกล่าวในรูปของ

                       การกระท าจริงให้ออกเป็นผลงาน เช่น วิชาศิลปศึกษา พลศึกษา การช่าง เป็นต้น การวัดแบบ

                       นี้จึงต้องใช้ “ข้อสอบภาคปฏิบัติ” (Performance Test)

                                                  2. การวัดด้านเนื้อหาเป็ นการตรวจสอบความสามารถเกี่ยวกับ

                       เนื้อหาวิชาอันเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน รวมถึงพฤติกรรมความสามารถใน

                       ด้านต่าง ๆ สามารถวัดได้โดยใช้ “ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์” (Achievement Test) สรุปได้ว่าใน

                       การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละวิชานั้นสามารถวัดได้ 2 แบบ คือ การวัดด้านปฏิบัติ

                       และการวัดด้านเนื้อหาตามจุดมุ่งหมายและลักษณะวิชาที่สอน ซึ่งในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้

                       ผู้วิจัยได้ท าการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

                       ที่ได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TAI โดยวัดจาก

                       แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

                              1.10.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                                             แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบที่วัดความรู้

                       ของนักเรียนที่ได้เรียนไปแล้ว ซึ่งมักจะเป็นข้อค าถามให้นักเรียนตอบด้วยกระดาษและ


                       ดินสอ (Paper and Pencil Test) กับให้นักเรียนปฏิบัติจริง (Performance Test) แบบทดสอบ
                       ประเภทนี้แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ


                                             1. แบบทดสอบของครู หมายถึง ชุดของข้อค าถามที่ครูเป็นผู้สร้างขึ้น

                       ซึ่งจะเป็นข้อค าถามที่ถามเกี่ยวกับความรู้สึกที่นักเรียนได้เรียนในห้องเรียนว่า นักเรียนมี

                       ความรู้มากแค่ไหนบกพร่องที่ตรงไหนจะได้สอนซ่อมเสริม หรือวัดความพร้อมที่จะขึ้น

                       บทเรียนใหม่ ฯลฯ ตามแต่ที่ครูปรารถนา

                                            2. แบบทดสอบมาตรฐาน แบบทดสอบประเภทนี้ สร้างขึ้นจาก

                       ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาหรือจากครูที่สอนวิชานั้น แต่ผ่านการทดลองหาคุณภาพหลายครั้ง
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74