Page 67 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 67
57
ธรรมชาติแล้วเป็นเรื่องที่ยาก เช่น วิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้น การตั้งเกณฑ์ไว้สูงจะพบว่าไม่
อาจบรรลุผลได้ อย่างไรก็ตามไม่ควรตั้งเกณฑ์ไว้ต ่าเกินไป เช่น ต ่ากว่า 70/70 ทั้งนี้เพราะถ้า
สิ่งที่ครูพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพจริงแล้วจะต้องสามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลใน
ระดับสูงส่วนใหญ่ได้ การตั้งเกณฑ์ 50/50 หรือ 60/60 แสดงถึงว่า สามารถพัฒนาผู้เรียนได้
โดยเฉลี่ยครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็มหรือมากกว่าครึ่งหนึ่งเล็กน้อย (60 %) ซึ่งน่าจะไม่เพียงพอ
ควรพัฒนาได้มากกว่านั้น
2. การเขียนเกณฑ์ 80/80 ไม่ได้ หมายถึง อัตราส่วน หรือสัดส่วนระหว่าง 2
ส่วนนี้ โดยทั่วไปไม่ได้แปลความหมายโดยน ามาเปรียบเทียบกัน ดังนั้นครูผู้วิจัยอาจไม่เขียน
ในรูป 80/80 แต่เขียนในรูปอื่น เช่น 80,80 หรือแม้กระทั่งเขียนว่าใช้เกณฑ์ 80% ทั้ง
กระบวนการและผลโดยรวมก็ได้ การเขียน 80/80 เป็นเพียงการแยกส่วนของประสิทธิภาพ
ของกระบวนการซึ่งเป็นตัวเลข 80 ตัวหน้า กับประสิทธิภาพของผลโดยรวม ซึ่งเป็นเลข 80
ตัวหลัง
3. ผู้วิจัยอาจตั้งเกณฑ์ 2 ส่วนไม่เท่ากันก็ได้ เช่น ตั้งเกณฑ์เป็น 70/80 ซึ่ง
หมายถึงว่าประสิทธิภาพของกระบวนการใช้ 70% ส่วนประสิทธิภาพของผลโดยรวมใช้
80% ซึ่งไม่นิยมก าหนดในลักษณะดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามไม่จ าเป็นที่จะท าอะไรให้
สอดคล้องกับความนิยมข้อส าคัญ คือ เหตุผลเบื้องต้นของการตั้งเกณฑ์ ซึ่งสามารถอธิบายได้
ว่าการตั้งเกณฑ์แบบนั้นมีความเหมาะสมมีเหตุผลที่ดีกว่า
1.10 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.10.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
นักการศึกษากล่าวถึงความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้
ไพศาล หวังพานิช (2526 : 89) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง
คุณลักษณะและประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการฝึกอบรมหรือจาการสอน จึงเป็น
การตรวจสอบความสามารถหรือความสัมฤทธิ์ผลของบุคคลว่าเรียนรู้แล้วเท่าไร มี
ความสามารถชนิดใด