Page 76 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 76
66
8. ต้องยากพอเหมาะ (Difficiency)
9. ต้องมีอ านาจจ าแนก (Discrimination) คือ สามารถแยกเด็กออกเป็ น
ประเภทได้ทุกระดับตั้งแต่อ่อนสุดจนถึงเก่งสุด
10. ต้องเชื่อมั่นได้ (Reliability) คือ ข้อสอบนั้นสามารถให้คะแนนได้คงที่
แน่นอน
1.12 ความพึงพอใจในการเรียนรู้
1.12.1 ความหมายของความพึงพอใจ มีผู้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้
ดังนี้
สเตราส์ และเซเลส (Strauss and Sayless. 1960 : 5 – 6) ให้ความเห็นว่าความ
พึงพอใจเป็ นความรู้สึกพอใจในงานที่ท า เต็มใจที่จะปฏิบัติงานนั้นให้ส าเร็จตาม
วัตถุประสงค์
กู๊ด (Good. 1973 : 161) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึงสภาพ
หรือระดับความพึงพอใจที่เป็นผลมาจากความสนใจและเจตคติของบุคคลที่มีต่องาน
ประสาท อิศรปรีดา (2531 : 300) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง พลังที่เกิดจากพลังทางจิต
ที่มีผลไปสู่เป้าหมายที่ต้องการของมนุษย์ และเป็นพฤติกรรมไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
ลักขณา สริวัฒน์ (2539 : 132) ได้กล่าวถึงความพึงพอใจว่า ความพึงพอใจ
หมายถึง พฤติกรรมที่สนองความต้องการของมนุษย์ และเป็นพฤติกรรมที่น าไปสู่
จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 775) ได้ให้ความหมายของ
ความพึงพอใจ หมายถึง พอใจ ชอบใจพฤติกรรมเกี่ยวกับความพึงพอใจของมนุษย์ คือความ
พยายามที่จะขจัดความตึงเครียด หรือ ความกระวนกระวาย หรือภาวะไม่ได้ดุลยภาพใน
ร่างกาย ซึ่งเมื่อมนุษย์สามารถขจัดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวได้แล้ว มนุษย์ย่อมได้รับความพึงพอใจ
ในสิ่งที่ตนต้องการ
สมศักดิ์ คงเที่ยง และอัญชลี โพธิ์ทอง (2542 : 278-279) ให้ความหมายของ
ความพึงพอใจไว้ว่า