Page 77 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 77
67
1. ความพึงพอใจเป็นผลรวมของความรู้สึกของบุคคลเกี่ยวกับระดับความชอบ
หรือไม่ชอบต่อสภาพต่าง ๆ
2. ความพึงพอใจเป็นผลของทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบต่าง ๆ
3. ความพึงพอใจในการท างานเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานที่ดี และส าเร็จจนเกิด
เป็นความภูมิใจ และได้ผลตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ ตามที่หวังไว้
คณิต ดวงหัสดี (2547 : 47) ให้ความหมายไว้ว่า เป็นความรู้สึกชอบ หรือ
พอใจของบุคคลที่มีต่อการท างานและองค์ประกอบหรือสิ่งจูงใจอื่น ๆ ถ้างานที่ท าหรือ
องค์ประกอบเหล่านั้นตอบสนองความต้องการของบุคคลได้ บุคคลนั้นจะเกิดความพึงพอใจ
ในงานขึ้นจะอุทิศเวลา แรงกาย แรงใจ รวมทั้งสติปัญญาให้แก่งานของตนให้บรรลุ
วัตถุประสงค์อย่างมีคุณภาพจากการศึกษาความหมายของความพึงพอใจที่มีผู้ให้ความหมาย
ไว้ข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม การ
แสดงออก หรือ เจตคติที่ดีของบุคคลที่มีต่อการท างานหรือปฏิบัติกิจกรรมหรือการเรียนการ
สอน และต้องการด าเนินกิจกรรมนั้น ๆ จนบรรลุผลส าเร็จ อย่างมีความสุข ในการ
ด าเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนความพึงพอใจเป็นสิ่งที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนท างานที่
ได้รับมอบหมาย ให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์
จากแนวคิดพื้นฐานดังกล่าว เมื่อน ามาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ผลตอบแทนภายในหรือรางวัลภายในเป็นผลด้านความรู้สึกของผู้เรียนที่เกิดแก่ตัวของ
ผู้เรียนเอง เช่น ความรู้สึกต่อความส าเร็จที่เกิดขึ้นเมื่อสามารถเอาชนะความยุ่งยากต่าง ๆ และ
สามารถด าเนินงานภายใต้ความยุ่งยากทั้งหลายได้ส าเร็จ ท าให้เกิดความภูมิใจ ความมั่นใจ
ตลอดจนได้รับการยกย่องจากบุคคลอื่น ส่วนผลจากการตอบแทนภายนอก พ่อแม่
ผู้ปกครอง หรือแม้แต่การให้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งสรุปได้
ว่า ความพึงพอใจเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก และทัศนคติของบุคคล
อันเนื่องมาจากสิ่งเร้าและแรงจูงใจ ซึ่งปรากฏออกมาทางพฤติกรรม ความพึงพอใจในการ
เรียนและผลการเรียนจะมีความสัมพันธ์กันในทางบวกทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ผู้เรียนได้
ปฏิบัตินั้น ท าให้ผู้เรียนได้รับการตอบสนองความต้องการทางด้าน