Page 81 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 81
71
2. ความต้องการสัมพันธ์ (Needs for Affiliation) เป็นความปรารถนาที่จะสร้าง
มิตรภาพและมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น
3. ความต้องการอ านาจ (Needs for Power) เป็นความต้องการควบคุมผู้อื่นมีอิทธิพล
ต่อผู้อื่นและต้องการควบคุมผู้อื่น
จากที่กล่าวข้างต้นเกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างเสริมความพึงพอใจ พอจะสรุปได้ว่า
ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรมศาสตร์เกี่ยวกับลักษณะและความต้องการของมนุษย์ เราสามารถ
น ามาประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมความพึงพอใจของบุคคลที่เกี่ยวข้องให้เกิดความสุขและ
ความพึงพอใจในงานที่ท าได้อย่างเหมาะสม
1.12.3 การวัดความพึงพอใจ
การวัดความพึงพอใจของมนุษย์ตามทฤษฎี 2 องค์ประกอบของ
เฮอร์ซเบร์ก คือความต้องการ การได้รับการตอบสนองทางด้านร่างกายและการปรารถนา
ความสุขทางใจทั้งสองอย่างนี้ถ้าได้รับการตอบสนองในขอบเขตที่บุคคลต้องการกระท าให้
ผู้ได้รับการตอบสนองเกิดความพึงพอใจ
โยธิน ศันสนยุทธ (2533 : 66 – 71) ได้ระบุการวัดความพึงพอใจว่าการที่จะ
ค้นคว้าได้ว่าบุคคลมีความพึงพอใจหรือไม่ วิธีที่ง่ายที่สุดคือการถามซึ่งในระยะหลัง ๆ ที่ต้อง
มีผู้บอกข้อมูลจ านวนมาก ๆ มักใช้แบบสอบถามที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่าตามแบบของ
ลิเคอร์ท (Likert )ประกอบด้วยชุดของค าถามและมีตัวเลือก 5 ตัวเลือก ส าหรับการเลือกตอบ
คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด และ คะแนนความพึงพอใจนั้นสามารถน ามา
วิเคราะห์ได้ว่าบุคคลมีความพึงพอใจด้านใดสูงและด้านใดต ่า โดยใช้วิธีการทางสถิติ ซึ่งการ
ต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรก็มีความจ าเป็นที่จะต้องใช้แบบสอบถาม ที่มีข้อค าถามหลาย
ข้อ เพื่อจะได้ครอบคลุมลักษณะต่าง ๆ ของงานทุก ๆ ด้านขององค์กร และนอกจากการใช้
แบบสอบถามแล้วอาจใช้การเขียนตอบอย่างเสรีได้เช่นกัน
ประภาพันธ์ พลายจันทร์ (2546 : 6) ได้กล่าวไว้ว่าการวัดความพึงพอใจนั้น
สามารถท าได้หลายวิธีดังต่อไปนี้