Page 83 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 83
73
คือมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด และคะแนนความพึงพอใจนั้นสามารถน ามา
วิเคราะห์ได้ว่าบุคคลมีความพึงพอใจด้านใดสูง และด้านใดต ่า โดยใช้วิธีการทางสถิติ ซึ่งการ
ต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร ก็มีความจ าเป็นที่จะต้องใช้แบบสอบถาม ที่มีข้อค าถาม
หลายข้อ เพื่อจะได้ครอบคลุมลักษณะต่าง ๆ ของงานทุก ๆ ด้านขององค์กร และนอกจาก
การใช้แบบสอบถามแล้วอาจใช้การเขียนตอบอย่างเสรีได้เช่นกัน
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2546 : 141 – 142) กล่าวถึงการวัดความพึงพอใจ
ไว้ว่า
1. ความพึงพอใจโดยทั่วไปเป็นการศึกษาถึงความรู้สึกชอบพอของบุคคลที่มี
บทบาทของงาน เป็นการวัดโดยส่วนรวมถึงระดับที่บุคคลมีความพึงพอใจและมีความสุขกับ
งาน
2. ความพึงพอใจงานเฉพาะด้าน เป็นการศึกษาถึงความรู้สึกชอบพอและ
ความพอใจของบุคคลที่มีต่องานเฉพาะด้าน เช่น รายได้ ความมั่นคง มิตรสัมพันธ์
ผู้บังคับบัญชาและความก้าวหน้า
สรุปได้ว่า การวัดความพึงพอใจสามารถใช้เครื่องมือวัดได้หลายแบบ เช่นวิธีการสังเกต
พฤติกรรม กิริยาท่าทาง การแสดงออก โดยการสังเกตอย่างมีระบบแบบแผนการสัมภาษณ์
ซึ่งต้องอาศัยเทคนิควิธีการสัมภาษณ์ที่ดีจึงจะได้ข้อมูลที่เป็นจริง การใช้แบบสอบถามข้อมูล
จ านวนมาก ๆ มักใช้แบบสอบถามที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่าตามแบบของลิเคอร์ท
(Likert ) ประกอบด้วยชุดของค าถามและมีตัวเลือก 5 ตัวเลือก ส าหรับการเลือกตอบ คือ มาก
ที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด เพื่อต้องการทราบความคิดเห็น และอีกอย่างยังสามารถ
กระท าได้ในลักษณะก าหนดค าตอบให้เลือก หรือตอบค าถามอิสระ เป็นต้น
1.12.5 การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจ ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นมา
ตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และศึกษาการสร้างแบบสอบถามจากต าราวัดผล
ทางการศึกษาของสมนึก ภัททิยธนี (2545 : 36-42 ) มีล าดับการสร้างดังนี้