Page 87 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 87

77


                                            2. นักเรียนกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่มมีเจตคติต่อคณิตศาสตร์ อยู่ใน

                       ระดับดี และนักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยการเรียนรู้แบบเรียนรู้ร่วมกัน (LT) กับนักเรียนที่ได้รับ

                       การสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่

                       แตกต่างกัน

                                     สุรพงษ์ บรรจงสุข (2547 : 127) ได้ศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ

                       เรียนความคงทนและความพึงพอใจทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง ล าดับและ

                       อนุกรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้ตามแผนการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้

                       กับวิธีสอนตามคู่มือครูคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มกลุ่ม

                       คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริม

                                     วิทย์ อ าเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จ านวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แผนการ

                       จัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบอิงเกณฑ์ และเป็นแบบ

                       ปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จ านวน 30 ข้อ แบบวัดความพึงพอใจ จ านวน 20 ข้อ ผล

                       การศึกษาพบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการ

                       เรียนคณิตศาสตร์และความคงทนทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอน

                       ตามคู่มือครูคณิตศาสตร์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจในระดับ

                       ปานกลาง

                                     อภิเชษฐ์ วันทา (2547 : 62–67) ได้ศึกษาการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง


                       การบวก ลบ คูณ หารจ านวนเต็ม โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบกลุ่ม (TAI) และวิธีการเรียนตาม
                       คู่มือของ สสวท.ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ


                       เจาะจง (Purposive Sampling) คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียน

                       สายธารวิทยา จังหวัดศรีสะเกษ จ านวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้

                       แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอิงเกณฑ์ จ านวน 30 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า

                                     1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการ

                       เรียนรู้แบบกลุ่ม (TAI) เรื่อง การบวก ล บ  คูณ หารจ านวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1

                       มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.67/76.42
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92