Page 92 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 92

82


                       แบบอิงเกณฑ์ จ านวน 30 ข้อ แบบวัดความพึงพอใจและการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน จ านวน

                       20 ข้อ ผลการศึกษาพบว่า ผลการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง

                       ตรรกศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค

                       TAI มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 89.62/83.33 ดัชนีประสิทธิผลของผลการจัดการเรียนรู้เท่ากับ

                       .7673 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 76.73 นักเรียนมีความพึงพอใจ

                       ต่อการจัดกิจกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก



                       2.2 งานวิจัยต่างประเทศ

                                          บาร์บัตโต (Barbato. 2000 : 2113–A) ได้ศึกษาผลกระทบของการใช้

                       วิธีการเรียนแบบร่วมมือ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์และทัศนคติของนักเรียนที่เรียนวิชา

                       คณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบทดสอบแบบหลังการ

                       ทดลองพบว่า ชั้นเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ มีระดับผลสัมฤทธิ์

                       ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยส าคัญและยังพบว่า นักเรียนมีทัศนคติในด้าน

                       บวกต่อวิชาคณิตศาสตร์มากกว่านักเรียนกลุ่มที่ใช้วิธีการเรียนแบบปกติ ถึงแม้จะไม่พบว่ามี

                       ความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญระหว่างปัจจัยด้านเพศกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา


                       คณิตศาสตร์ก็ตาม นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนชายมีคะแนนจากการทดสอบสูงกว่านักเรียน
                       หญิงเมื่อใช้แบบทดสอบของ Motivational Survey แต่ไม่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมี


                       นัยส าคัญระหว่างเพศชายกับเพศหญิงในปัจจัยด้านแรงจูงใจจากภายนอกเลย

                                       การ์ดูโน (Garduno. 2001 : 268 – 282) ได้ศึกษาผลของการเรียนรู้แบบ

                       ร่วมมือในวิชาคณิตศาสตร์เกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียน และทัศนคติต่อ

                       วิชาคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นนักเรียนเก่งของเกรด 7 และ 8 จ านวน 48 คน โดยใช้วิธีการแบ่งกลุ่ม

                       นักเรียนออกเป็น2 กลุ่ม คือ แบบคละเพศและแบบแยกเพศ หลังการเข้าร่วมโครงการ 2

                       สัปดาห์ พบว่า นักเรียนทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างในเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือ

                       ความสามารถส่วนบุคคลส่วนความแตกต่างของทัศนคติที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการ

                       ช่วยเหลือ การพึ่งพาและการแข่งขันกันภายในกลุ่ม
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97