Page 95 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 95
85
เอกัตภาพและเรียนแบบร่วมมือกันมีผลการเรียนแตกต่างกัน 2) การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
เรียนรู้เป็นรายบุคคลมีการใช้เวลาในการช่วยเหลือของครูแตกต่างกัน 3) นักศึกษาที่เรียน
แบบรายบุคคลกับการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน มีระยะเวลาในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อท างานที่
มอบหมายแตกต่างกันและ4) นักเรียนทั้ง 2 กลุ่มระยะเวลาที่ใช้แตกต่างกัน การศึกษาใช้
รูปแบบการทดสอบหลังเรียนโดยแบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มหนึ่งเรียนแบบร่วมมืออีกกลุ่มหนึ่งเรียนแบบรายบุคคล ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาที่
เรียนแบบร่วมมือกันใช้เวลาในการศึกษาคอมพิวเตอร์น้อยกว่านักเรียนที่เรียนเป็นรายบุคคล
แต่นักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันในเรื่องอื่น ๆ ที่ก าหนดไว้ในสมมุติฐาน
กวิน (Gwyn. 2003 : 3912-A) ได้ท าการส ารวจลักษณะของการเรียนรู้ที่จะ
สอนพรรณากระบวนการที่นักศึกษาครูใช้ในการสร้างความเข้าใจ และการพัฒนาวิธีการ
สอนที่พวกเขาไม่เคยคุ้นเคยมาก่อน โดยใช้กรอบความคิดของกลุ่มสร้างสรรค์นิยม โดยเน้น
ไปที่กิจกรรมการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ และวิเคราะห์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น โดยผู้วิจัยได้
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิควิธีสอนแนวใหม่ และเป็นผู้ให้ค าแนะน าในการวางแผนและจัด
กิจกรรมหลังจากการสังเกตห้องเรียนแล้ว ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ที่น ามาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ช่วยให้นักศึกษาครูสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีสอนแบบ
การร่วมมือได้เป็นอย่างดีแม้ว่าเขาไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนจากโรงเรียนในระดับ
มัธยมศึกษาและระดับมหาวิทยาลัย ทั้งนี้นักศึกษาครูได้รับการสนับสนุนและแนวความคิด
จากหลายแหล่งด้วยกัน เช่น การได้สนทนากับอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นครั้งคราว ช่วยให้พวก
เขาสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจดังกล่าวได้ โดยท าให้เกิดการแลกเปลี่ยนแนวความคิด
และการค้นหาค าตอบของปัญหา การจัดกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ ประสบผลส าเร็จมีการ
แลกเปลี่ยนแนวความคิดและการแก้ปัญหาร่วมกัน
จากผลการวิจัยทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้รูปแบบการเรียนรู้
ร่วมกันของผู้เรียนมีการช่วยเหลือกันในกลุ่ม ได้เรียนรู้หลักการพึ่งพากัน การมีปฏิสัมพันธ์
กันและได้ฝึกฝนทักษะการท างานร่วมกับผู้อื่น สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง ผู้เรียนมีความสุข