Page 78 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 78
68
ร่างกายและจิตใจ ซึ่งครูผู้สอนต้องค านึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ในการเสริมสร้างความพึง
พอใจในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
1.12.2 ทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างเสริมความพึงพอใจ ความพึงพอใจเป็น
ความรู้สึกที่บุคคลมีต่อสิ่งที่ได้รับประสบการณ์ และแสดงออกหรือมีพฤติกรรมตอบสนอง
ในลักษณะแตกต่างกันไป ความพึงพอใจต่อสิ่งต่าง ๆ นั้น จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
แรงจูงใจ การสร้างแรงจูงใจหรือการกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจกับผู้ปฏิบัติงาน จึงเป็นสิ่งจ าเป็น
เพื่อให้งานหรือสิ่งที่ท านั้นประสบความส าเร็จ การศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจเป็น
การศึกษาตามทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ ดังที่
จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์ (2532 : 110-114) ได้กล่าวถึง ทฤษฎีทางด้าน
พฤติกรรมศาสตร์เกี่ยวกับลักษณะและความต้องการของมนุษย์ ซึ่งสามารถน ามาประยุกต์ใช้
ในการสร้างเสริมความพึงพอใจ
ของบุคคล ดังนี้
1. ทฤษฎีล าดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) อับรา
ฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) ได้ตั้งทฤษฎีนี้โดยมีแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของ
มนุษย์ไว้ดังนี้
1.1 ลักษณะความต้องการของมนุษย์ ประกอบด้วย
1) ความต้องการของมนุษย์เป็นไปตามล าดับขั้นความส าคัญ โดยเริ่มจากระดับ
ความต้องการขั้นต ่าไปสู่ความต้องการขั้นสูง
2) มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ เมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการ
ตอบสนองแล้ว ก็จะมีความต้องการในสิ่งใหม่เข้ามาแทนที่
3) เมื่อความต้องการในระดับหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว จะไม่จูงใจให้เกิด
พฤติกรรมต่อสิ่งนั้น แต่จะมีความต้องการในระดับสูงเข้ามาแทน และเป็นแรงจูงใจให้เกิด
พฤติกรรมในสิ่งนั้น
4) ความต้องการที่เกิดขึ้นอาศัยซึ่งกันและกัน มีลักษณะควบคู่กัน คือเมื่อความ
ต้องการอย่างหนึ่งยังไม่หมดสิ้นไป ก็จะมีความต้องการอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมา