Page 80 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 80

70


                              2. ทฤษฎี ERG (ERG Theory) อัลเดอร์เฟอร์ (Clayton Alderfer) มีความเชื่อว่าความ

                       ต้องการมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์เช่นเดียวกับ

                               2.1 ความต้องการเพื่อการด ารงชีวิต (Existence Needs) เป็นความต้องการทาง

                       กายภาพและความต้องการทางวัตถุที่ช่วยให้มนุษย์มีชีวิตอยู่รอดได้ เช่น อาหาร น ้า ที่อยู่

                       อาศัยนอกจากนี้ค่าจ้างแรงงาน ความมั่นคง สวัสดิภาพ ความปลอดภัยก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ เมื่อ

                       เปรียบเทียบกับทฤษฎีของมาสโลว์ ความต้องการเพื่อการด ารงชีวิตจะรวมส่วนที่เป็นความ

                       ต้องการทางด้านสรีระทั้งหมดกับบางส่วนของความต้องการความมั่นคงปลอดภัย

                               2.2 ความต้องการด้านความสัมพันธ์ (Relatedness Needs) เป็นความต้องการที่

                       รวมถึงความต้องการทางสังคม ความต้องการความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในความสัมพันธ์

                       ระหว่างบุคคลกรได้รับการยอมรับ การมีชื่อเสียง และการได้รับการยกย่องจากสังคม

                       เมื่อเทียบกับทฤษฎีของมาสโลว์ ความต้องการด้านความสัมพันธ์นี้จะรวมถึงส่วนที่เป็น

                       ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการทางสังคม และบางส่วนของความต้องการ

                       เกียรติและศักดิ์ศรี

                              2.3 ความต้องการเติบโต (Growth Needs) เป็นความต้องการทั้งหมดเกี่ยวกับการ

                       พัฒนาตนเอง ความก้าวหน้าในวิชาชีพ ความภาคภูมิใจในตนเอง ตลอดจนการเข้าใจตนเอง

                       และการใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ เมื่อเทียบกับทฤษฎีของ Maslow ความต้องการ

                       ด้านการเติบโตนี้จะรวมถึงบางส่วนของความต้องการ เกียรติและศักดิ์ศรี และความต้องการ


                       ท าตนให้ประจักษ์ทั้งหมด
                              มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2540 : 139-144) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการจูงใจของ


                       แมคคลีแลนด์ (Mc Cleland) ซึ่งเชื่อว่าความต้องการเป็นการเรียนรูประสบการณ์ และมี

                       อิทธิพลต่อการรับรู้สถานการณ์และมีอิทธิพลต่อการรับรู้สถานการณ์และแรงจูงใจสู่

                       เป้าหมาย โดยแบ่งความต้องการออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

                              1. ความต้องการสัมฤทธิ์ผล (Needs for Achievement) เป็นพฤติกรรมที่จะกระท า

                       การใด ๆ ให้เป็นผลส าเร็จเป็นแรงขับที่น าไปสู่ความเป็นเลิศ
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85