Page 22 - วารสารสุขภาพ สำนักอนามัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 2
P. 22

ออกก�าลังกาย สร้างสุขภาพ


           แขม่วท้อง...
           แขม่วท้อง...เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม




                                                                     นพ.ธีรวีร์ วีรวรรณ
                                                                     นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน)
                                                                     ผู้อ�านวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 56 ทับเจริญ
                                                                     ส�านักอนามัย กรุงเทพมหานคร


                  การฝึกแขม่วท้องมีผลต่อกล้ามเนื้อแกนกลางล�าตัว ถ้าฝึกแขม่วท้องเป็นประจ�า จะท�าให้ระบบประสาท
           สามารถสั่งการได้อย่างเป็นอัตโนมัติมากขึ้น และตอบสนองได้รวดเร็วขึ้น ท�าให้โครงสร้างต่างๆ อยู่ในแนวที่ดี
           ลดการบาดเจ็บจากแรงกดที่เกิดจากการใช้งานหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสมได้

                  “Core stabilization exercise”

                  จึงเป็นการออกก�าลังกาย เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กระดูกสันหลังเพิ่มความสามารถในการควบคุมท่าทาง

           และการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยมีเป้าหมายที่กล้ามเนื้อมัดลึกที่เป็นแกนกลางของล�าตัวเชื่อมระหว่างกระดูกสันหลัง
           กระดูกเชิงกรานและกระดูกสะโพก


                  การแขม่วท้องที่ถูกต้อง

                  นอนหงายชันเข่า โดยให้เข่างอประมาณ 90 องศา เท้าวางราบกับพื้น จากนั้นวางนิ้วเหมือนท่าเท้าเอว
           จะพบปุ่มกระดูกนูนทางด้านหน้าเชิงกราน เคลื่อนนิ้วมือไปทางสะดือและลงไปทางเท้าเล็กน้อย ซึ่งต�าแหน่งตรงนั้น
           จะวางมือบนกล้ามเนื้อท้องมัดลึกพอดี เมื่อเริ่มแขม่วท้องและท�าอย่างถูกต้อง จะรู้สึกถึงการเกร็งของกล้ามเนื้อ
           ท้องมัดลึก โดยกล้ามเนื้อดังกล่าวจะดันมือขึ้นมา


                  ประโยชน์ของ “การแขม่วท้อง”

                  เพิ่มความมั่นคงของกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหว ถ้ากล้ามเนื้อแขน-ขาแข็งแรง
           แต่กล้ามเนื้อแกนกลางล�าตัวอ่อนแรง จะท�าให้ไม่มีแรงเพียงพอในการสร้างประสิทธิภาพการเคลื่อนไหว และอาจเป็น
           สาเหตุท�าให้เกิดการบาดเจ็บได้ และการแขม่วท้องบ่อยๆ จะท�าให้กล้ามเนื้อท้องและหลังรวมถึงเชิงกรานแข็งแรง

           ลดหน้าท้อง และมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้นอีกด้วย

                  ท่าออกก�าลังกายแขม่วท้อง หรือ Core stabilization exercise (เบื้องต้น)


                  1. ท่าแขม่วท้องพื้นฐาน

                    เริ่มจากการชันเข่า แขม่วท้องพร้อมกับ

           แบะขาขวาออก 45 องศา ในขณะที่ขาซ้ายอยู่กับที่
           จากนั้นเคลื่อนขาขวากลับสู่ท่าเริ่มต้นขณะท�าการ
           เคลื่อนไหว เกร็งกล้ามเนื้อท้องมัดลึกค้างไว้ อย่างน้อย
           10 วินาที




      22   วารสารสุขภาพ
           ส�านักอนามัย
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27