Page 18 - วารสารสุขภาพ สำนักอนามัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 2
P. 18
กินเป็น เน้นสุขภาพ
เด็กไทยรุ่นใหม่สูงดี สมส่วน
เด็กไทยรุ่นใหม่สูงดี สมส่วน
ประเทืองทิพย์ แก้วศรี
นักโภชนาการช�านาญการ
กองสร้างเสริมสุขภาพ
ส�านักอนามัย กรุงเทพมหานคร
จากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็ว ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเอื้ออ�านวยให้เด็ก
มีพฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปในด้านลบ บริโภคอาหารขาดสมดุล
ไม่มีผักผลไม้ที่เพียงพอ ไม่ออกก�าลังกาย กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ
ก่อให้เกิดการมีชีวิตแบบนั่งอยู่กับที่ (Sedentary) เน้นการมุ่งพัฒนา
ความรู้วิชาการมากกว่าการสร้างสุขภาพ ส่งผลต่อวิถีชีวิตของเด็ก
และเยาวชนท�าให้สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง ก่อให้เกิดโรคอ้วน
ซึ่งแสดงถึงปัญหาการเลี้ยงดูและการเข้าถึงอาหารอย่างไม่เหมาะสม
ในวัยเด็กยังคงมีอยู่ โรคอ้วนเป็นภัยอันตรายที่คุกคามเด็กไทย
อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับวัยผู้ใหญ่โดยเฉพาะโรคอ้วนบริเวณพุง
ส่งผลให้ความดันเลือด ไขมัน และน�้าตาลในเลือดสูง แต่ไขมันดี
(HDL-C) ในเลือดต�่าลง เป็นผลลบต่อสุขภาพน�าไปสู่การไร้
ความสามารถ และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
รูปภาพประกอบจากเว็บไซต์ (Cardiovascular Diseases : CVD) ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับ
http://www.tun.ac.th/index.php?
p=1&mo=12&catid=204735 ต้นๆ ของประเทศไทย
การเจริญเติบโตที่ดี รูปร่างสูงดีสมส่วนของเด็กต้องประกอบด้วยอาหารและโภชนาการ ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก
ส�าหรับการเจริญเติบโต เป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะสุขภาพของเด็ก อาหารที่ดีเป็นอาหารตามวัยที่เหมาะสมปริมาณเพียงพอ
กับความต้องการของร่างกาย เด็กในวัยเรียนมีความต้องการพลังงานและสารอาหารเพิ่มมากขึ้น เป็นช่วงที่มี
การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อาหารจึงมีผลต่อโครงสร้างของร่างกาย ความสามารถในการเรียนรู้จดจ�า การสร้าง
ภูมิต้านทานโรค อาหารต้องมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการเป็นอาหารครบห้าหมู่ ประเภทของอาหารธรรมชาติ
ที่หลากหลาย ไม่ผ่านขบวนการแปรรูป โปรตีนเพียงพอ มีการดื่มนมรสจืดวันละ 2 แก้ว กินผักผลไม้ ดื่มน�้าสะอาด
กินอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้ามีความส�าคัญ อาหารของเด็กควรเป็นอาหารเพื่อสุขภาพลดอาหาร
รสหวาน มัน เค็ม และหลีกเลี่ยงอาหารพลังงานสูงแต่มีคุณค่าโภชนาการต�่า ซึ่งมักเป็นอาหารและขนมที่หวานมัน
เกินไปหรือเครื่องดื่มรสหวาน อาหาร ขนม และเครื่องดื่มหลายชนิด มีปริมาณน�้าตาลแอบแฝงอยู่สูงโดยผู้บริโภค
18 วารสารสุขภาพ
ส�านักอนามัย