Page 14 - วารสารสุขภาพ สำนักอนามัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 2
P. 14

เติมใจ ใส่ยิ้ม


                             การปฐมพยาบาล



                              ทางใ



                                                                               จุฑาทิพ วงษ์สุวรรณ
                                                                               นักจิตวิทยาช�านาญการพิเศษ
                                                                               กองสร้างเสริมสุขภาพ
                                                                               ส�านักอนามัย กรุงเทพมหานคร

                        ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร-
                 มหาภูมิพลอดุลยเดช ส่งผลกระทบต่อทางร่างกายและจิตใจ การปฐมพยาบาลทางใจเป็นเทคนิค
                 ที่ใช้เพื่อการดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ใกล้ชิด หรือประชาชนผู้มีความเศร้าโศกเสียใจ เป็นเทคนิค
                 ส�าหรับการให้ความช่วยเหลือทางด้านจิตใจที่ผู้ช่วยเหลือไม่จ�าเป็น ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญและไม่ต้อง

                 เป็นผู้ให้ค�าปรึกษาที่ต้องผ่านการอบรม  ขอเพียงแต่ผู้ช่วยเหลือมีความเข้าใจ  ใส่ใจ  เต็มใจในการ
                 ให้ความช่วยเหลือ
                        การปฐมพยาบาลทางใจ เป็นการให้ความช่วยเหลือทันทีกับผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤต
                 ที่ส่งผลกระทบทางจิตใจ เหตุการณ์วิกฤตยังรวมถึงเหตุการณ์อื่นๆ ได้แก่ ภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุ

                 เพลิงไหม้ เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความทุกข์ทางจิตใจของผู้ประสบเหตุให้สามารถ
                 จัดการกับปัญหาและปรับตัวกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

                 การปฐมพยาบาลทางใจ ท�าได้โดยใช้หลัก 3L หรือ 3ส

                        Look สอดส่อง มองหา โดยส่งเสริมให้มีความรู้สึกปลอดภัย ลดความเครียดทั้งทางด้าน
                 ร่างกาย จิตใจ คนที่ต้องช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ได้แก่ ผู้ที่มีภาวะทางการแพทย์ที่เร่งด่วน ผู้ที่มี
                 ปฏิกิริยาทางด้านจิตใจ เศร้าโศก เสียใจ กลุ่มที่เปราะบาง เช่น เด็ก คนชรา ผู้พิการ และควร

                 สอบถามถึงความต้องการอื่นๆ เช่น ประสานญาติ บุคคล ใกล้ชิด เป็นต้น
                        Listen ใส่ใจ รับฟัง รับฟังอย่างตั้งใจ เพื่อให้สามารถก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากล�าบากได้

                 ผู้ช่วยเหลือควรมีสมาธิกับสิ่งที่ผู้ได้รับผลกระทบก�าลังพูด การสบตา และส่งภาษากายเพื่อย�้าว่า
                 ก�าลังรับฟังเรื่องเขาอยู่  เช่น  การจับมือ  สัมผัส  การฟังจะช่วยให้อารมณ์สงบ  และควรถามถึง
                 ความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะนั้น เช่น ตอนนี้คุณก�าลังรู้สึกเศร้า ไม่เชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้น การถามความรู้สึก

                 จะช่วยให้ผู้ได้รับผลกระทบจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
                        Link ส่งต่อเชื่อมโยง ให้ความช่วยเหลือในความต้องการ

                 ขั้นพื้นฐาน และการเข้าถึงบริการ เช่น การช่วยเหลือทาง
                 กายภาพ มีคนช่วยท�าสิ่งต่างๆ ให้ เช่น ช่วยกรอกเอกสาร
                 ช่วยเหลือในการให้ข้อมูล ได้แก่ การแจ้งข้อมูล การให้

                 การช่วยเหลือเป็นระยะๆ การติดต่อผู้ใกล้ชิด รวมถึง
                 การให้การสนับสนุนทางสังคม เช่น การช่วยเหลือสิ่งของ
                 ยา อาหาร ที่พักพิง




      14   วารสารสุขภาพ
           ส�านักอนามัย
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19