Page 109 - Annual Report 2552
P. 109

ค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นจากการทำาธุรกรรม โดยคำานึงถึงความเป็นกลางในการระดมทุนเมื่อเปรียบเทียบกับ

            การระดมทุนด้วยตราสารหนี้ทั่วไปเป็นสำาคัญ ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยได้บรรจุมาตรการ
            พัฒนาตราสารศุกูกเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินตามแผนพัฒนาตลาดทุน

            ไทย (ปี 2553-2557) โดยคณะกรรมการกำากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กรมสรรพากร รวมถึง
            หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำาเนินการออกหลักเกณฑ์รองรับการเสนอขาย และยกร่างกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป


            Sukuk: Islamic Bond


                  การทำาธุรกรรมตามหลักศาสนาอิสลามกระทำาได้แต่เฉพาะในธุรกิจที่ไม่ขัดกับหลักศาสนา (หลักชารีอะฮ์) โดย

            สัญญาและธุรกรรมทุกชนิดจะต้องไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด อบายมุข เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุกร เป็นต้น และ
            ไม่อนุญาตให้มีการรับและจ่ายดอกเบี้ย ดังนั้น การลงทุนของชาวมุสลิมโดยทั่วไปจึงจำากัดอยู่แต่ในรูปของ

            การฝากทรัพย์ การลงทุนในสัญญาเช่า และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
                  อย่างไรก็ตาม  เพื่อเป็นการตอบสนองต่อผู้ที่มีเงินออมส่วนเกิน  และผู้ที่ต้องการเงินทุนเพื่อใช้จ่ายลงทุนใน

            โครงการจึงเกิดผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ถูกต้องตามหลักชารีอะฮ์เพื่อเพิ่มช่องทางการระดมทุน ที่เรียกว่า ศุกูก
            (Sukuk) ขึ้น ซึ่งเทียบเคียงได้กับตราสารหนี้อันเป็นตราสารแสดงสิทธิที่จะได้รับผลตอบแทนจากการดำาเนินธุรกิจ

            และยอมรับความเสี่ยงร่วมกัน โดยผลตอบแทนจากการร่วมดำาเนินธุรกิจมีหลายรูปแบบ ทั้งที่อยู่ในรูปค่าเช่า
            ค่าผ่อนชำาระ หรือส่วนแบ่งผลกำาไรเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น อาจเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างตราสารหนี้ทั่วไป

            และศุกูก ดังนี้


            เปรียบเทียบลักษณะของตร�ส�ร Sukuk กับตร�ส�รหนี้ทั่วไป (Conventional Bond)





                                                          Sukuk                       ตราสารหนี้ทั�วไป


              การแลกเปลี่ยน                      ไดรับสิทธิในทรัพยสินแลกเปลี่ยนกับ               ไดรับใบตราสาร (Bond certificate)
                                                 เงินลงทุน                       แลกเปลี่ยนกับเงินลงทุน

              ธุรกรรมอางอิง                     การใหเชาทรัพยสิน/การรวมลงทุน/  ไมมี
                                                 การวาจางทําสิ�งของ/การบริหารเงิน
                                                 ลงทุน


              วัตถุประสงคการใชเงิน             ใชในกิจกรรมที่ถูกตองตามหลัก   ไมจํากัดประเภทการใชเงิน
                                                 ศาสนาอิสลาม (หลักชารีอะฮ)
                                                 เทานั้น

              นักลงทุนไดรับผลตอบแทนในรูป        ผลกําไร คาเชา คาผอนชําระ ฯลฯ  ดอกเบี้ย

              สิทธิเรียกรองตอผูออกตราสาร      สิทธิความเปนเจาของในทรัพยสิน  สิทธิในฐานะเจาหน�้ของผูออกตราสาร

              การซื้อขาย (Trades)                เปนการซื้อขายสวนแบงในสินทรัพย  เปนการซื้อขายตราสารหน�้






  108     ร�ยง�นประจำ�ปี 2552 ANNUAL REPORT 2009
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114