Page 173 - ทักษะการเรียนรู้ (ทร21001) ม.ต้น
P. 173

165



                  พิจารณาว่ายังจะประกอบอาชีพนี้อีกหรือไม่ และถ้าต้องการประกอบอาชีพนี้จริงๆเนื่องจากตลาดมีความ

                  ต้องการมาก็ต้องพิจารณาว่าการลงทุนหาแร่ธาตุที่จะมาใช้ในการผลิตคุ้มหรือไม่
                         2. ศักยภาพของพื้นที่ตามหลักภูมิอากาศ หมายถึง ลักษณะของลมฟ้าอากาศที่มีอยู่ประจ าท้องถิ่น

                  ใดท้องถิ่นหนึ่งโดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิประจ าเดือน  และปริมาณน ้าฝนในช่วงระยะเวลา

                  ต่างๆของปี  เช่นภาคเหนือของประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็นหรือเป็นแบบสะวันนา (Aw)  คือ อากาศ

                  ร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้งเกษตรกรรม กิจกรรมที่ท ารายได้ต่อประชากรในภาคเหนือ ได้แก่ การท าสวน
                  ท าไร่ ท านา  และเลี้ยงสัตว์ภาคใต้เป็นภาคที่มีฝนตกตลอดทั้งปี ท าให้เหมาะแก่การปลูกพืชเมืองร้อน

                  ที่ต้องการความชุ่มชื้นสูง เช่น ยางพารา ปาล์มน ้ามัน เป็นต้น ดังนั้นการประกอบอาชีพอะไรก็ตามจ าเป็น

                  พิจารณาสภาพภูมิอากาศด้วย

                         3. ศักยภาพของภูมิประเทศและท าเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่ หมายถึง ลักษณะของพื้นที่และท าเล
                  ที่ตั้งในแต่ละจังหวัด ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น เป็นภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบลุ่ม ที่ราบชายฝั่ง สิ่งที่เราต้อง

                  ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศ เช่น ความกว้าง ความยาว ความลาดชัน และความสูงของพื้นที่ เป็นต้น

                  ซึ่งในการประกอบอาชีพใดๆก็ตามไม่ว่าจะเป็นการผลิต การจ าหน่าย หรือการให้บริการก็ตามจ าเป็นต้อง
                  พิจารณาถึงท าเลที่ตั้งที่เหมาะสม

                         4. ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่ จากการที่ประเทศ

                  ไทยมีสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละภาค จึงมีความ
                  แตกต่างกันในการด ารงชีวิตของประชากรทั้งด้านวัฒนธรรม ประเพณี และการประกอบอาชีพระบบการ

                  เกษตรกรรม สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม  (Agricultural  society)  กล่าวคือ ประชากรร้อยละ 80

                  ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตผูกพันกับระบบการ

                  เกษตรกรรม และระบบการเกษตรกรรมนี่เอง ได้เป็นที่มาของวัฒนธรรมไทยหลายประการ เช่น ประเพณี
                  ขอฝน ประเพณีลงแขก และการละเล่นเต้นก าร าเคียว เป็นต้น

                         5.  ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่  หมายถึง  เป็นการน าศักยภาพของแต่ละบุคคล

                  ในแต่ละพื้นที่มาใช้ ในการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างให้แต่ละบุคคลเกิดทัศนคติที่ดีต่อ

                  องค์การ ตลอดจนเกิดความตระหนักในคุณค่าของตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์การ เมื่อพิจารณาถึง
                  ทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่  โดยเฉพาะภูมิปัญญาไทย แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป ความรู้สมัยใหม่จะ

                  หลั่งไหลเข้ามามาก แต่ภูมิปัญญาไทยก็สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคสมัย เช่นการรู้จักน า

                  เครื่องยนต์มาติดตั้งกับเรือ ใส่ใบพัดเป็นหางเสือ ท าให้เรือสามารถแล่นได้เร็วขึ้น เรียกว่า เรือหางยาว การ
                  รู้จักท าการเกษตรแบบผสมผสาน สามารถพลิกฟื้นคืนธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์แทนสภาพเดิมที่ถูก

                  ท าลายไป การรู้จักออมเงิน สะสมทุนให้สมาชิกกู้ยืม ปลดเปลื้องหนี้สิน และจัดสวัสดิการแก่สมาชิก จน

                  ชุมชนมีความมั่นคง เข้มแข็ง สามารถช่วยตนเองได้หลายร้อยหมู่บ้านทั่วประเทศ เช่นกลุ่มออมทรัพย์
                  คีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราชจัดในรูปกองทุนหมุนเวียนของชุมชน
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178