Page 73 - หนังสือโครงการส่งเสริมการอ่าน
P. 73
๓. ห้องสมุดโรงเรียนมีการใช้ทรัพยากรและวิจัยร่วมกัน
4. ครูบรรณารักษ์ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพ
และสามารถบริหารจัดการห้องสมุดตามมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน
5. เครือข่ายห้องสมุดโรงเรียนมีประสิทธิภาพ และเป็นกลไกในการพัฒนาบุคคลแห่งการเรียนรู้
โครงสร้างเครือข่ายห้องสมุดโรงเรียน
เครือข่ายห้องสมุดโรงเรียน เป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดให้เกิดประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล ด้วยความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียน องค์กร และหน่วยงาน ให้มีความเข้มแข็งและ
ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน อันจะน าไปสู่การส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่มุ่งเน้น
พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ตลอดจนสร้างนิสัยรักการอ่าน ดังแผนภูมิโครงสร้างเครือข่าย
ห้องสมุดโรงเรียน ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แผนภูมิโครงสร้างเครือข่ายห้องสมุดโรงเรียน
เครือข่ายห้องสมุดโรงเรียน (๒๖๑ เครือข่าย)
สพป. ๑๘๓ เขต สพม. ๔๒ เขต
แม่ข่าย ๑๘๓ โรงเรียน แม่ข่าย ๗๘ โรงเรียน (จังหวัดละ ๑ โรงเรียน)
(โรงเรียนต้นแบบห้องสมุดมีชีวิต สพฐ.) (โรงเรียนต้นแบบห้องสมุดมีชีวิต สพฐ.)
ลูกข่าย ลูกข่าย
(โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ ๑๒๑ คน) (โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ ๓๐๐ คน)
การด าเนินงานเครือข่ายห้องสมุดโรงเรียน
๑. การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเครือข่ายห้องสมุดโรงเรียน โดยส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาหรือส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเครือข่าย
ห้องสมุดโรงเรียน ประกอบด้วย
ผู้อ านวยการส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ปรึกษา
รองผู้อ านวยการส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ปรึกษา
ผู้อ านวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ที่ปรึกษา
ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบงานห้องสมุดและส่งเสริมนิสัยการอ่าน ที่ปรึกษา
ผู้อ านวยการแม่ข่ายโรงเรียนต้นแบบห้องสมุดมีชีวิต สพฐ. ประธานกรรมการ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ผู้ที่ได้รับเลือกจากประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ
ผู้แทนกลุ่มโรงเรียน/สหวิทยาเขตแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา กรรมการ
คู่มือการด าเนินงานกิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการพัฒนาห้องสมุด ประจ าปีงบประมาณ 2561
68