Page 6 - ระลึกถึง นพ จอห์น เจ กุยเยอร์ และ อ เบ็ทซี่ กุยเยอร์
P. 6
ก็เดินทางไปเข้าร่วมประชุมการแพทย์ไทยภาคเหนือที่จังหวัดพิษณุโลก ในปีที่่สองเราเรียนภาษาไทยครึ่งเวลา
และใช้ภาษาไทยในการสอนหนังสือ
ระหว่างปี พ.ศ. 2495 - 2500 โรงพยาบาลแมคคอร์มิคมีเตียง 150 เตียง แผนกผู้ป่วยนอกอยู่ที่ตึก
ณ เชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นแผนกรังสีวิทยา โอ.พี.ดี. อยู่มุมทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของชั้นล่าง
สำนักงานฝ่ายบริหารอยู่ทางมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แผนกเภสัชกรรมอยู่ทางมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ แผนก
ชัณสูตรอยู่ทางมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งทางเดินที่มาอยู่ตึกอำนวยการในปัจจุบันด้วย ชั้นบนของตึก
ณ เชียงใหม่เป็นแผนกเอ็กซเรย์ (ซึ่งต่อมาเคยใช้เป็นห้องสมุด) และเป็นสำนักงานของฝ่ายการพยาบาลและ
ห้องสมุด ซึ่งปัจจุบันเป็นห้องนมัสการและห้องทำงานของแผนกพันธกิจ มีตึกอีกเพียงหลังเดียวทางทิศตะวัน
ออกของตึก ณ เชียงใหม่ คือ ห้องเก็บศพ ซึ่งเป็นบริเวณที่จอดรถจักรยานยนต์ในปัจจุบัน
วอร์ด C นั้นมีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่ต่อมาได้ต่อเติม
บริเวณที่เป็น CCU และพื้นที่ข้างใต้เพิ่มเติม C1 เป็น
ห้องคลอดและเป็นวอร์ดขนาดเล็กสำหรับ Pathological
Obstetrics C2 เป็นแผนกผดุงครรภ์ ตึกผ่าตัดเป็นตึก
ชั้นเดียว อยู่ด้านเหนือของแผนกจ่ายกลางปัจจุบันซึ่งเป็น
บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกผ่าตัดในขณะนี้ ตึกผ่าตัด
ประกอบด้วยห้องผ่าตัดใหญ่ 1 ห้อง และห้องผ่าตัดเล็ก
1 ห้อง คนเดินเข้าออกห้องผ่าตัดโดยปราศจากความ
ใส่ใจในการเปลี่ยนรองเท้าและในบางครั้งไม่ได้สวมผ้า
คาดปาก จมูก ก่อนที่จะยื่นศีรษะเข้าไปดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นหรือถามคำถามศัลยแพทย์ นับว่าโชคยังดีที่เชื้อ
Staphylococci ในตอนนั้นยังไม่ดื้อยาปฏิชีวนะที่ราคาไม่แพง ทางด้านใต้ของตึกผ่าตัดตรงที่เป็นแผนกจ่ายกลาง
ปัจจุบันนี้ เรามีตึกสงฆ์เล็กๆ ใกล้กับตึก K ในปัจจุบัน โดยใช้พยาบาลจาก B1 วอร์ด E สำหรับผู้ป่วยวัณโรคตั้งอยู่
ในที่ที่เป็นตึกนิวแมนในปัจจุบันนี้ เป็นตึกที่มีห้องผู้ป่วยขนาด 2 เตียง 4 ห้อง พร้อมกับที่ทำงานของพยาบาล
ขนาดย่อม และกระท่อมมุงใบตองตึงอยู่ด้านหลังสำหรับผู้ป่วยอีก 2 คน (กระท่อมดังกล่าวสร้างขึ้นหลังสงคราม
โลกครั้งที่ 2 โดยครอบครัวที่มีชื่อเสียงในเชียงใหม่ เนื่องจากมีผู้ป่วยวัณโรคมาก จึงได้สร้างกระท่อมหลังนี้ขึ้น)
ในตอนนั้นไม่มีทางเชื่อมมุงหลังคาระหว่างตึก E และ C หรือ ตึก ณ เชียงใหม่
A1 เป็นวอร์ดผู้หญิง รับทั้งผู้ป่วยอายุรกรรม ศัลยกรรม และนรีเวช คุณปราณี นิลุบล เป็นหัวหน้าพยาบาล
ตึกนี้อยู่หลายปี A2 มีเด็กกำพร้าอยู่ภายในส่วนกลางของวอร์ด ผู้ป่วยเด็กจะอยู่ด้านที่เป็นระเบียง ในสมัยนั้น
เรามีเด็กกำพร้าจำนวนมาก เนื่องจากประชาชนกลัวว่าเมื่อมารดาตายในขณะคลอดบุตร วิญญาณของแม่จะ
กลับมาและหลอกหลอนเด็ก จึงไม่มีใครในครอบครัวกล้าเลี้ยงเด็กเนื่องจากความสงสารเด็กเขาจึงปล่อยให้
โรงพยาบาลเป็นผู้เลี้ยงดูเด็ก บางครั้งญาติพี่น้องก็กลับมารับเด็กเมื่อเด็กหย่านมแล้ว ส่วนมากเด็กจะถูกรับไป
เป็นบุตรบุญธรรม
B1 เป็นวอร์ดศัลยกรรมชาย คุณแฝงจันทร์ สมหวัง เป็นหัวหน้าพยาบาลประจำวอร์ดอยู่หลายปี ส่วน B2
เป็นวอร์ดอายุรกรรมชาย ตึกมหิดลเดิมเรียกว่า วอร์ด D ก่อนที่จะมีการก่อสร้างต่อเติมในปี 2508 ตึกมหิดล
ก่อนจะมาถึงเมืองไทย (2) 2/4
จุลสารระลึกถึงนายแพทย์จอห์น เจ กุยเยอร์
และอาจารย์เบ็ทซี กุยเยอร์