Page 221 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 221
220
เอ เอช เอ (AHA) กับความงามบนใบหน้า
AHA ย่อมาจาก Alpha Hydroxyl Acids มีสรรพคุณที่กล่าวขวัญว่าเป็นสารช่วยลดริ้วรอยจุดด่าง
ด าบนผิวหนังได้ จึงใช้ผสมกับครีมและโลชั่น เครื่องส าอางที่มี AHA เป็นส่วนประกอบถูกจัดในกลุ่ม
เดียวกับสารเคมีส าหรับลอกผิว ซึ่งใช้งานกันในหมู่แพทย์ผิวหนังและศัลยกรรมพลาสติก AHA ที่ใช้กัน
มากคือ กรดไกลโคลิก และกรดแลกติก แต่ยังมีหลายชนิดที่ใช้เป็นส่วนประกอบ โดยปกติที่วางตลาดมี
ความเข้มข้นร้อยละ 10 หรือน้อยกว่านั้น แต่ในกรณีของผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังสามารถใช้ได้ถึงระดับ
ความเข้มข้นร้อยละ 20 -30 หรือสูงกว่านั้น AHA จัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เครื่องส าอางทั่วไป แต่อยู่
ในหมวดของเวชส าอาง (Cosmeceutical) ตามองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ซึ่งให้
ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจาก AHA ไม่เหมือนเครื่องส าอางทั่วไป แต่มันซึมผ่านเข้าไปในชั้นผิวหนัง
ได้ และหากเข้มข้นพอก็จะลอกผิว ซึ่งเกิดผลในทางลบคือท าให้เซลผิวเสื่อมเร็วขึ้น และยังท าให้ผิวหนัง
ชั้นนอกบางลงด้วย ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี AHA จ านวนหนึ่ง ใช้แล้วพบว่าผิวของตนไวต่อแสงอาทิตย์มาก
ขึ้น หรือแพ้แดดนั่นเอง การทดลองใช้กรดไกลโคลิกเข้มข้นและต่อเนื่อง จะพบอาการผิวแดงและทนต่อ
แสงยูวีได้น้อยลง องค์การที่ดูแลความปลอดภัยของผู้บริโภค ได้สรุปผลในการใช้ AHA อย่างปลอดภัย
ให้มีความเข้มข้นไม่เกินร้อยละ 10 และเมื่อผสมพร้อมใช้จะต้องมีค่าความเป็นกรด-ด่างไม่ต ่ากว่า 3.5
นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์นั้นยังต้องมีส่วนผสมที่ช่วยลดระดับความไวต่อแสงแดด หรือมีสารกันแดด หรือ
มีข้อความแนะน าให้ใช้ควบคู่กับผลิตภัณฑ์ส าหรับกันแดด ถ้าอยากทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่มี AHA
หรือไม่ลองอ่านฉลากดู และมองหาชื่อสารเคมีต่อไปนี้
- กรดไกลโคลิก (Glycolic acid)
- กรดแลคติก (Lactic acid)
- กรดไกลโคลิกและแอมโมเนียมไกลโคเลต (Glycolic acid and Ammonium glycolate)
- กรดอัลฟาไฮดรอกซีคาโพรลิก (Alphahydroxy caprylic acid)
- กรดผลไม้รวม (Mixed fruit acid)
- กรดผลไม้สามอย่าง (Triple fruit acid)
- กรดผลไม้ชนิดไตรอัลฟาไฮดรอกซี (Tri-alpha hydroxyl fruit acid)
- สารสกัดจากน ้าตาลอ้อย (Sugar cane extract)