Page 86 - mukdahansuksapub
P. 86
86 ท้ายซึ่งบังคับบัญชาการปกครองอีสานเหนือ ๖ จังหวัด(เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในพ.ศ.๒๔๗๕แล้วได้ยก เลิกการปกครองแบบเทศาภิบาล) ท่านสมุหเทศาภิบาลได้มาเป็นประธานในการจัดงานนมัสการพระธาตุพนม เป็นทางราชการเป็นครั้งแรกและมีการชุมนุมลูกเสือใน ๖ จังหวัดด้วย พ.ศ.๒๔๗๕ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗ ท่าน ได้ให้ประชาชนในเขตตัวเมือง(เขตเทศบาลปัจจุบัน)มาร่วมชุมนุม ณ บริเวณประตูโขงหน้าองค์พระธาตุพนมใน ตอนเย็น เพื่อฟังคําชี้แจงของนายอําเภอ โดยท่านได้นําคําแถลงการณ์ของคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาชี้แจงให้ราษฎรฟัง(ยังไม่มีเครื่องขยายเสียง,ยังไม่มีพิมพ์ดีดและไม่มีวิทยุกระจายเสียง) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอัน มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแล้ว ได้มีข้าราชชั้นผู้ใหญ่เดินทางมาตรวจราชการและพักแรมที่อําเภอธาตุพนมซึ่ง ท่านต้องจัดการรับรองเช่น พระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน) ผู้บัญชาการทหารบก(ก่อนเป็นนายกรัฐ มนตรี)เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖, หลวงประดิษฐมนูญธรรม(ปรีดี พนมยงค์)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อ พ.ศ ๒๔๗๗, หลวงธํารงนาวาสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙. ท่านเป็นนายอําเภอธาตุพนมอยู่ถึง ๒๐ ปีเพราะว่าในอดีตทางราชการถือว่านายอําเภอหรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องอยู่ในอําเภอนั้นหรือจังหวัดนั้นไม่ตํ่ากว่าคนละ ๕-๑๐ ปีเพื่อจะคุ้นเคยกับราษฎรและท้อง ที่ เช่นพระยาพนมนครานุรักษ์ (อุ้ย นาครทรรภ)เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมถึง ๑๕ ปี (พ.ศ.๒๔๕๔-พ.ศ. ๒๔๖๙)จึงย้ายไปดํารงตําแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร(ปกครอง ๖ จังหวัด)และได้รับพระราชทานบรร ดาศักดิ์เป็น พระยาอดุลเดชสยามเมศวรภักดีวิริยะพาหะ เป็นต้น สําหรับคุณพ่อ(หลวงพิทักษ์)ทางราชการเห็นว่า อําเภอธาตุพนมเป็นอําเภอสําคัญ มีปูชนียสถานที่สําคัญคือองค์พระธาตุพนม มีแขกหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มา พํานักค้างแรมอยู่เป็นประจําซึ่งในอดีตไม่มีโรงแรมหรือร้านอาหารเหมือนในปัจจุบัน จึงเห็นว่าท่านเป็นผู้เหมาะ สมที่สุดที่จะเป็นนายอําเภอนี้ จึงไม่ได้โยกย้ายไปที่ใด กิจวัตรประจําวันของท่านในการดูแลความทุกข์สุขประชาชนก็คือ ตอนเช้าท่านจะเดิน หรือขี่จักรยานไปยังตลาดสดและย่านการค้าซึ่งห่างจากบ้านพักประมาณ ๒-๓ กิโลเมตร โดยปกติท่านจะนั่งที่ ร้านกาแฟเพื่อสังเกตการณ์และนั่งสนทนากับชาวบ้านและพ่อค้าไทย,จีน,ญวน,ชาวปากีสถานซึ่งเป็นมุสลิม วัน หนึ่งพ่อค้าจีนและพ่อค้ามุสลิมวิวาทบาดหมางกันขึ้นจะยกพวกเข้าตลุมบอนกัน ท่านถือไม้ตะพดออกไปยืนกั้น กลางห้ามปรามให้สองฝ่ายเลิกรากันจนสงบ ตอนเย็นหลังจากรับประทานอาหารเย็นเสร็จแล้วแทบทุกคืน แม้ถนนหนทางจะมืดมิดเพราะ ยังไม่มีไฟฟ้าแสงสว่างเหมือนปัจจุบันมีแต่แสงสว่างตามบ้านเรือนประชาชน ท่านก็จะออกเดินจากบ้านพักโดย มีผู้ติดตามท่านหนึ่งคนหรือบางครั้งก็ให้ลูกชายซึ่งยังเป็นเด็กอยู่เดินตามท่าน ท่านพกปืนและถือไฟฟ้าเดินทาง (ไฟฉาย)เดินดูความเรียบร้อยจนถึงประตูโขง ซึ่งเป็นย่านการค้าที่มักจะมีประชาชนมาร่วมชุมนุมสังสรรค์กัน ในยามคํ่าคืนเป็นประจําแทบทุกคืน ท่านจะไปแวะสนทนากับพ่อค้าจีนตามร้านค้าต่างๆบางครั้งท่านก็ไปซุ่มดู