Page 88 - mukdahansuksapub
P. 88
88 เชื่อว่าท่านพูดความจริงหรือตอบแบบขอไปที จึงเรียกราษฎรคนนั้นเข้ามาถามว่าเป็นราษฎรบ้านใด ราษฎรคน นั้นก็ตอบยืนยันว่าเป็นราษฎรจากบ้านนํ้ากํ่าจริงอย่างนี้เป็นต้น สําหรับเรื่องถนนหนทางในภาคอีสานเดิมไม่มีถนนและยังไม่มีกรมทางหลวง มีแต่ทางเกวียนระ หว่างตําบลระหว่างอําเภอเพราะยังไม่มีรถยนต์ ส่วนมากจะนิยมเดินทางทางนํ้าตามลํานํ้าโขงต่อมาก็เริ่มมีเรือกล ไฟ จนถึงพ.ศ.๒๔๖๕ (สมัยรัชกาลที่ ๖) จึงมีรถยนต์คันแรกคือรถยนต์ประจําตําแหน่งอุปราชภาคอีสาน คือเจ้า พระยามุขมนตรี (อวบ เปาวริต)ที่จังหวัดอุดรธานีซึ่งปกครองภาคอีสานทั้งหมด ท่านสั่งให้ทุกจังหวัดทุกอําเภอ สร้างถนนเชื่อมต่อกันระหว่างอําเภอต่ออําเภอจังหวัดต่อจังหวัด จังหวัดใดทําถนนได้เสร็จก่อนท่านสมุหเทศาภิ จะหารถยนต์มาให้ใช้ในราชการ พระยาพนมนครานุรักษ์(อุ้ย นาครทรรภ)ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมจึงสั่งให้ นายอําเภอทุกอําเภอเร่งสร้างถนนเป็นงานรีบด่วน คุณพ่อ(หลวงพิทักษ์ฯ)นายอําเภอธาตุพนมจึงสร้างถนนจาก อําเภอธาตุพนมไปยังจังหวัดนครพนมได้เสร็จภายใน ๒ ปี โดยอาศัยแรงงานจากราษฎรที่ไม่มีเงินที่จะเสียเงินรัช ชูปการ ๒ บาท (ชาวบ้านเรียกว่าเสียส่วย)ต้องถูกเกณฑ์มาใช้แรงงาน ๑๕ วันแทน ทําการก่อสร้างถนนจากทาง เกวียน โดยใช้งบประมาณเพียงเล็กน้อย ซึ่งท่านชอบออกไปควบคุมงานด้วยตนเองเช่นการสร้างสะพานไม้ข้าม ลําห้วยต่างๆบางครั้งก็ต้องไปค้างแรมในป่าอยู่เสมอ จังหวัดนครพนมจึงมีรถยนต์ประจําตําแหน่งผู้ว่าราชการ เป็นจังหวัดแรก ในอดีตเมื่อร้อยปีก่อนเนื่องจากจังหวัดและอําเภอชายแดนริมฝั่งแม่นํ้าโขง ซึ่งมีดินแดนลาวในการ ปกครองของฝรั่งเศสอยู่ตรงข้าม จึงต้องเตรียมรับรองกรมการเมืองของลาวซึ่งเป็นคนลาว การรับรองและอาหาร การกินก็คงไม่ยุ่งยาก แต่บางครั้งต้องรับรองชาว ฝรั่งเศสด้วย นายอําเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ต้องมีพ่อครัว(กุ๊ก)ที่ทําอาหารฝรั่งเศสได้ไว้ด้วย ซึ่งส่วนมากจะเป็นชาวญวนที่เคยปรุงอาหารฝรั่ง เศสซึ่งมาจากฝั่งลาว ตลอดทั้งต้องจัดอุปกรณ์ทํา อาหารเช่นเนย.ซอส ซึ่งต้องไปซื้อจากฝั่งลาวไว้ ด้วยตลอดทั้งเตาอบขนมปังซึ่งในอดีตไม่มีไฟฟ้า ไม่มีเตาแก๊ส ต้องมีเตาอบที่ก่อเป็นอุโมงค์เตาอบ และใช้ฟืนสุมทําความร้อนในเตาอบก่อน รถยนต์คันแรกของผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พ.ศ.๒๔๖๗ ท่านครบเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๑ เมื่อมีอายุ ๕๕ ปี(ระเบียบราชการในสมัยนั้นเกษียณราชการอายุ ๕๕ ปี) ราษฎรทุกหมู่บ้าน ในตัวเมือง(เขตเทศบาลปัจจุบัน)ได้ผลัดเปลี่ยนกันจัดบายศรีสู่ขวัญและเลี้ยงส่งท่านทุกหมู่บ้าน เมื่อท่านเกษียณอายุราชการแล้วท่านก็ยังเป็นห่วงญาติพี่น้องในปิตุภูมิเดิมอยู่ จึงได้นํา ครอบครัวอพยพกลับมาอยู่ที่มุกดาหารตั้งแต่พ.ศ.๒๔๘๒ ซึ่งได้เป็นประธานของญาติพี่น้องลูกหลานในตระกูล