Page 93 - mukdahansuksapub
P. 93
93 พระภักดีนุชิต(ข้าหลวง)และพระจันทรเทพสุริยวงษา(เจ้าเมือง)จึงได้มีใบบอกกราบทูล พระเจ้า บรมวงษ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงต่างพระองค์ สําเร็จราชการมณฑลลาวพวนที่บ้านหมากแข้ง (อุดรธานี) ต่อมาได้มีรับสั่งทรงตอบมาว่า “..เรื่องที่พักควรหาที่ว่างสร้างให้ฝรั่งเศสโดยเร็วเพราะศาลากลางเป็น สถานที่ราชการของบ้านเมือง ราษฎรถือว่าศาลากลางเป็นทีวิเศษของบ้านเมือง การจะมาขออยู่ที่ศาลากลางดูจะ เป็นการตัดไม้ข่มนามมากกว่า ไม่ควรที่ข้าหลวงเจ้าเมืองกรมการเมืองจะยอมให้ได้ ส่วนข้อที่ว่าถ้าข้าวของหาย เจ้าเมืองต้องรับผิดชอบนั้น ข้อนี้ไม่มีธรรมเนียมที่ไหนในโลก แม้แต่ตึกราชทูตที่กรุงเทพฯของเขาหายก็ยังไม่ได้ มาเอากับเรา ส่วนที่เขาจะให้จัดกองตระเวนนั้นเราไม่ได้อยู่ในบังคับฝรั่งเศสเราจัดไม่ได้ แต่กฎหมายโปลิศเก่า ก็มีอยู่ว่า ผู้ใดจะจ้างโปลิศ(คํารวจ)ไปรักษาบ้านเรือน เจ้าพนักงานจะจัดโปลิศให้ แต่ต้องจ่ายเงินเดือนเอง ถ้า เรา รักษาทรัพย์ให้เขาไม่มั่นคงเขาจะเอาญวนเข้ามาก็ยิ่งเป็นการผิดธรรมเนียม ที่เขาบอกว่ามิให้ข้าหลวงไทยมาอยู่ ในเขต๖๒๕ เส้นหรือ ๒๕กิโลเมตรนั้น ข้อนี้ไม่มีในหนังสือสัญญาข้อใด ให้ข้าหลวงพูดจาโต้ตอบฝรั่งเศสตาม หนังสือสัญญาทุกประการ...” ม.อาละฮอก ผู้แทนทางการค้าของฝรั่งเศสได้มาประจําอยู่ที่เมืองมุกดาหาร ต่อมาได้ปิด ประกาศไว้ที่หน้าบ้านพักว่า ...ประกาศห้าม ผู้ใดจะเดินไปมาในหน้าที่อยู่ของฝรั่งนี้ ก็ให้เดินไปมาแต่ใน ๑ โมง เช้าถึง ๖โมงเย็นก็เดินไปมาได้ ถ้าถึง ๖ โมงเย็นห้ามไม่ให้คนใดเดินไปมาแลยืนด้อมมองอยู่ในหน้าที่อยู่ของฝรั่ง นี้ จะจับเอาตัวทําโทษอย่างหนัก ถ้าคนใดจะเรียนฝรั่งและไปขอยาก็ให้ติดไต้ตามไฟไป ประกาศมาณวัน ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๑๓ ม.อาละฮอก ผู้แทนทางการค้าของฝรั่งเศสยังบอกกับเจ้าเมืองมุกดาหารอีกว่า หากมีโจร ผู้ร้ายมาลักขโมยสิ่งของเจ้าเมืองต้องรับผิดชอบ จึงขอให้เจ้าเมืองจัดให้มีโปลิศ(ตํารวจ)มาดูแลรักษาผู้แทนทาง การค้าของฝรั่งเศสด้วย เจ้าเมืองมุกดาหารตอบไปว่าขอให้พูดกับข้าหลวงประจําเมืองมุกดาหาร ฝรั่งเศสบอกว่า จะพูดและติดต่อกับเจ้าเมืองเท่านั้น เพราะว่าห้ามมีข้าหลวงไทยมาประจําอยู่ในเขต ๒๕ กิโลเมตรจากฝั่งโขง เมื่อฝรั่งเศสห้ามมีกองทหารไทยในเขต ๒๕ กิโลเมตรริมฝั่งโขงและฝรั่งเศสขอให้มีโป ลิศดูแลรักษาทรัพย์สิน สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจึง ทรงพระดําริที่จะตั้งโปลิศ(ตํารวจ)ขึ้นตามหัวเมืองชายแดนริมฝั่งโขงสําหรับปราบปรามโจรผู้ร้ายและดูแลรักษา ผุ้แทนทางการค้าของฝรั่งเศสด้วย ซึ่งเดิมตามเมืองต่างๆก็มีคล้ายๆโปลิศอยู่แล้วเรียกว่าไทยเวร ซึ่งจะนอนประ จําอยู่ที่บ้านเจ้าเมืองและรักษาศาลากลางของเมืองเมื่อมีโจรผู้ร้ายก็ใช้คนพวกนี้ จึงขอพระราชทานซื้อเครื่องแบบ ให้โปลิศเมืองละ ๕๐ ชุด คือ เมืองแก่นท้าว,เมืองกมุทาสัย(หนองบัวลําภู),เมืองท่าบ่อ,เมืองหนองคาย,เมืองโพน พิสัย,เมืองท่าอุเทน,เมืองนครพนมและเมืองมุกดาหารเป็นชุดเสื้อกางเกงและเข็มขัด ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อที่เรียกว่า โปลิศเป็น ตํารวจภูธรและให้ถืออาวุธอย่างทหาร ส่วนตํารวจนครบาลในกรุงเทพฯไม่ถืออาวุธ พ.ศ.๒๔๓๙ เกิดความแห้งแล้งในเมืองมุกดาหารฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ถึงเดือนกรก