Page 92 - mukdahansuksapub
P. 92
92 สําหรับอํานาจหน้าที่ของข้าหลวงซึ่งมาประจําอยู่ ได้มีท้องตราโปรดขึ้นมา คือ ๑.เป็นผู้แนะนําตักเตือนให้เจ้าเมือง,กรมการเมือง ซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นทําราชการให้ถูกต้อง โดยเฉพาะ ราชการเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ ๒.กํากับการพิจารณาตัดสินความเกี่ยวกับโจรผู้ร้าย ๓.เป็นผู้พิจารณาบรรดาความที่ชาวต่างประเทศเป็นโจทย์ ชาวสยาม(ไทย)เป็นจําเลย ๔.เป็นผู้พิจารณาความอุทธรณ์ ที่กล่าวโทษเจ้าเมืองหรือผู้รักษาเมืองที่ไม่มีกรมการในเมืองนั้นชําระได้ ท่านได้ออกเดินทางจากเมืองนครราชสีมาเพื่อมาดํารงตําแหน่งข้าหลวงประจําเมืองมุกดาหาร เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ พร้อมด้วยหลวง,ขุน,หมื่น,ไพร่รวม ๓๘ คนคือนายทุ้ย(น้องชายของท่าน) หลวง ๒,ขุน ๕,หมื่น ๒,เสมียน ๒,ทนาย ๔,เลก ๖,เลกหมอช้าง ๕,เลกควานช้าง ๕,ทาส ๒ ฝรั่งเศสได้ดินแดนลาวเป็นอาณานิคม เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ ตามสัญญาสงบศึกที่ได้ลงนามเมื่อวัน ที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ให้สยาม(ไทย)สละสิทธิ์ทั้งปวงในดินแดนฝั่งโขงตะวันออก(ดินแดนลาว)ห้ามฝ่ายไทย ตั้งกองทหารหรือค่ายทหารในเขต ๒๕ กิโลเมตรริมฝั่งโขง ต่อมาฝรั่งเศสได้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านท่าแห่ริมฝั่ง โขงซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเมืองมุกดาหารแล้วตั้งเมืองขึ้นใหม่ชื่อว่า เมืองสุวรรณเขตข้าหลวงฝรั่งเศสคนแรกที่มาประ จําอยู่ณเมืองสุวรรณชื่อ ม.โฮรังใด ส่วนเจ้าเมืองมุกดาหารคือ พระจันทรเทพสุริยวงษา ซึ่งต่อมาได้รับพระราช ทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ จันทรสาขา) ต่อมาฝรั่งเศสได้ขอตั้งผู้แทนทางการค้า( Commercial Agency) ขึ้นตามหัวเมืองริมฝั่งโขงเช่นที่ เมืองเขมราฐ,เมืองมุกดาหาร,เมืองนครพนม,เมืองท่าอุเทนและเมืองหนองคาย แต่พฤติกรรมของผู้แทนทางการ ค้าที่ส่งมาประจําตามเมืองต่างๆเหล่านี้ทํางานเสมือนสายลับของฝรั่งเศส คอยสอดส่องสืบเสาะดูว่าฝ่ายไทยกระ ผิดในสัญญาหรือไม่เช่นมีทหารไทยในเขต ๒๕ กิโลเมตรหรือไม่และพยายามเกลี่ยกล่อมให้คนไทยอพยพข้าม โขงไปอยู่ในฝั่งลาวซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๖ ม.โอรังใด ข้าหลวงฝรั่งเศสประจําเมืองสุวรรณเขตพร้อมด้วย ฝรั่งเศสอีก ๓ คนและล่ามญวนได้นั่งเรือกลไฟชื่อเรือมาสซีข้ามโขงมาจอดที่ท่านํ้าเมืองมุกดาหาร แล้วให้ล่าม ญวนมาเชิญเจ้าเมืองและข้าหลวงประจําเมืองมุกดาหารไปพบ ล่ามญวนบอกว่าฝ่ายฝรั่งเศสจะให้กวานบาฝรั่ง เศส (กวานบาเป็นภาษาญวนแปลว่าร้อยเอก)มาเป็นกงสุลคือผู้แทนทางการค้ามาประจําอยู่ที่เมืองมุกดาหาร จึง ขอให้เจ้าเมืองและข้าหลวงพาไปดูที่ตั้ง ข้าหลวงและเจ้าเมืองจึงนําฝรั่งเศสเดินเลียบริมฝั่งโขงไปทางใต้จนถึง วัดศรีสุมังค์ ฝรั่งเศสขอให้เจ้าเมืองสร้างที่พักให้จะเป็นเงินเท่าใดจะจ่ายให้ทีหลัง แล้วเดินย้อนขึ้นมาทางเหนือ จนถึงศาลากลาง(ตั้งอยู่ริมฝั่งโขงหน้าจวนเจ้าเมือง) ฝรั่งเศสบอกว่าจะขอมาพักที่ศาลากลางก่อนขอให้กั้นห้อง ให้และให้ปลูกโรงครัวอีกหลังหนึ่งด้วย ฝรั่งเศสบอกว่าเมื่อฝรั่งเศสมาอยู่ที่นี่แล้วเจ้าเมืองต้องรับผิดชอบดูแลรัก ษาด้วย หากมีทรัพย์สินสิ่งของสิ่งใดของฝรั่งเศสเสียหายเจ้าเมืองจะไม่พ้นผิดและบอกอีกว่าในสัญญาระหว่าง ไทยกับฝรั่งเศสห้ามมีข้าหลวงไทยอยู่ริมฝั่งโขงในเขต ๒๕ กิโลเมตรด้วย