Page 17 - หนังสือเรียนวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลาย
P. 17
12
บทที่ 4
สถานการณของประเทศไทยและสถานการณโลกกับความพอเพียง
เรื่องที่ 1 สถานการณประเทศไทยกับความพอเพียง
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติไดจัดทําแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแหงชาติเพื่อใชกําหนดทิศทางอันสามารถจะถือไดวาเปนคานิยมรวมในการ
วางแผนแมบทของหนวยงานตางๆซึ่งเปนจุดกําเนิดที่สําคัญของการนําแนวคิด หลักการ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนการทํางานในทุกระดับของสังคมไทย “เศรษฐกิจ
พอเพียง” เปนปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงมีพระราชดํารัสชี้แนะแนวทางการ
ดําเนินชีวิตแกชาวไทยมาโดยตลอดนานกวา 25 ปตั้งแตกอนเกิดวิกฤตการณทางเศรษฐกิจ
และเมื่อภายหลังไดทรงเนนย้ําแนวทางการแกไขเพื่อใหรอดพนและสามารถดํารงอยูไดอยาง
มั่นคงยั่งยืนภายใตกระแสโลกาภิวัตน และการเปลี่ยนแปลงตางๆปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
จึงสามารถประยุกตใชเปนพื้นฐานการบริหารและพัฒนาประเทศไดในทุกภาคการผลิตรวมทั้ง
เปนแนวในการดํารงชีวิตและปฏิบัติงานของคนไทยทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและ
สังคม โดยคํานึงถึงประเด็นดังนี้
- การดําเนินการในทางสายกลางที่อยูบนพื้นฐานความพอดีเนนการพึ่งตนเอง
ขณะเดียวกันใหกาวทันโลกในยุคโลกาภิวัตน
- ความพอเพียงที่เนนการผลิตและบริโภคอยูบนความพอประมาณมีเหตุผล
- ความสมดุลและการพัฒนาที่ยั่งยืน เปนการพัฒนาอยางมีองครวมมีสมดุล
ระหวางกระแสการแขงขันจากโลกาภิวัฒนและกระแสทองถิ่นนิยมมีความหลากหลายใน
โครงสรางการผลิตมีการใชทุนที่มีอยูในสังคมใหมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชนสูงสุดไมทําลาย
ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดลอมวัฒนธรรม ภูมิปญญาและวิถีชีวิตที่ดีงาม
- การมีภูมิคุมกันในตัวที่ดีพอสมควรในการเตรียมความพรอมรูเทาทันตอ
ผลกระทบ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตาง ๆ มีความยืดหยุนในการปรับตัวมีการตัดสินใจ
อยางมีเหตุผลมีความเขมแข็ง มั่นคง และยั่งยืน
- การเสริมสรางจิตใจคนและพัฒนาคนในชาติใหเปนคนดีมีคุณธรรมมีความ
รับผิดชอบซื่อสัตยสุจริตมีสติปญญามีความเพียรอดทนและรอบคอบ