Page 18 - หนังสือเรียนวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลาย
P. 18
13
เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
1. โครงสรางเศรษฐกิจไทยกอนใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจ กอนที่ประเทศไทยจะ
ประกาศใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจแหงชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509) โครงสรางเศรษฐกิจ
ของไทย มีสภาพ ดังนี้
1) เศรษฐกิจแบบยังชีพ เศรษฐกิจไทยสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัย
รัตนโกสินทรตอนตน มีโครงสรางทางเศรษฐกิจแบบยังชีพ โดยผลิตอาหารและสิ่งของเครื่องใช
ตาง ๆ พอกินพอใชภายในครอบครัวและหมูบาน เมื่อเหลือจากการบริโภคจึงนําไปคาขาย
แลกเปลี่ยนยัง หัวเมือง และประเทศใกลเคียง
2) เศรษฐกิจแบบทุนนิยม หรือเศรษฐกิจแบบการคาและใชเงินตรา เกิดขึ้น
ภายหลังประเทศไทยทําสนธิสัญญาเบาวริงกับอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2398 สมัยรัชกาลที่ 4 และ
กับ ชาติตะวันตกอื่น ๆ ในเวลาไลเลียกัน ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจตอประเทศ
ไทย ดังนี้
(1) มีการติดตอคาขายกับตางประเทศอยางกวางขวาง มีเรือสินคา
ตางชาติเดินทางเขามาคาขายในกรุงเทพฯ เพิ่มจํานวนมากขึ้นหลายเทาตัว
(2) ยกเลิกระบบการคาผูกขาดและเปลี่ยนมาเปนระบบการคาเสรี
การผูกขาดการคาของหนวยราชการที่เรียกวา “พระคลังสินคา” ตองยุติลง พอคาชาวอังกฤษ
และชาติตะวันตกอื่นๆ สามารถซื้อขายสินคากับพอคาไทยไดโดยตรง เปนผลใหปริมาณการคา
ระหวางไทยกับชาติตะวันตกขยายตัวกวางขวาง
(3)ระบบการผลิตแบบยังชีพ เปลี่ยนมาเปนระบบการผลิตเพื่อการคา
ขาวกลายเปนสินคาออกที่สําคัญของไทย ชาวนาขยายการผลิตเพิ่มมากขึ้นเพื่อสนองความ
ตองการของตลาดโลก
(4) ความตองการใชแรงงานทํางานในไรนามีมากขึ้น ทําใหราชการ
ตองลดหยอนการเกณฑแรงงานไพร โดยใหจายเปนเงินคาราชการแทนเพื่อใหราษฎรมีเวลา
ทํางานใน ไรนามากขึ้น สวนงานกอสรางของทางราชการ เชนขุดคลอง สรางถนน ฯลฯ
ใชวิธีจางแรงงาน ชาวจีนแทน
(5) เกิดระบบเศรษฐกิจแบบใชเงินตรา มีการจัดตั้งโรงงานกษาปณ
ในป พ.ศ. 2403 เพื่อใชเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ แบบประเทศตะวันตก และยกเลิกเงิน
พดดวงแบบเดิม ซึ่งปลอมแปลงไดงาย ทําใหการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินคาทําไดสะดวกคลองตัว
ยิ่งขึ้น