Page 98 - กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานจราจร
P. 98

๙๑




                                     ๓.๓) ระยะมองเห็นในทางโคงแนวราบ โดยระยะที่ปลอดภัยนั้นมีความสําคัญ
                 อยางมาก สําหรับการควบคุมการขับขี่ยานพาหนะใหไดรับความปลอดภัย โดยเฉพาะอยางยิ่งสําหรับ

                 กรณีของรถบรรทุก ซึ่งมีความสามารถตอบสนองตอการเบรกตํ่า ทั้งนี้ระดับสายตาที่ผูขับขี่รถบรรทุก
                 สามารถมองเห็นวัตถุไดสูงกวารถยนตประเภทอื่นนั้น มีสวนชวยใหการชดเชยการตอบสนองตอ
                 การเบรกตํ่าของรถบรรทุกชนิดตางๆ ได แตหลักเกณฑนี้อาจไมสามารถใชกับกรณีของรถบรรทุก

                 ขนาดใหญได ทั้งนี้เพราะเปนรถที่มีขนาดใหญและมีนํ้าหนักบรรทุกมาก ซึ่งจําเปนตองใชระยะทางหยุดรถ
                 ที่ปลอดภัยยาวกวารถยนตทั่วไป

                                     ๓.๔)  ระยะมองเห็นในทางโคงแนวดิ่ง บนทางหลวงที่มีขอจํากัดของระยะมองเห็น
                 ที่ปลอดภัยที่บริเวณทางโคงดิ่งแบบควํ่า  (Crest Curve)  จะมีความถี่ตอการเกิดอุบัติเหตุ

                 ถึงรอยละ ๕๒ ของทางโคงแบบหงาย (Sag Curve)
                                     ๓.๕)  แนวทางราบ ประกอบดวยสวนที่เปนทางตรงและทางโคง การออกแบบ

                 ทางโคงนั้น มีความสําคัญตอความสะดวกสบายของผูขับขี่เปนอยางมาก ซึ่งจะตองพิจารณาถึง
                 องคประกอบตางๆ คือ รัศมีความโคง (Radius of Curve) มุมเปลี่ยนแนว (Deflection Angle
                 of Curve) การยกโคง (Super Elevation) และการขยายผิวทางในทางโคง (Widening) ซึ่งจากการ

                 ศึกษาพบวา จํานวนอุบัติเหตุจราจรบนทางหลวงจะเกิดขึ้นที่บริเวณทางโคงมากกวาบริเวณทางตรง
                 ถึง ๓ เทา โดยสวนใหญเกิดจากการวิ่งหลุดออกจากทางโคง นอกจากนี้ยังพบวา ทางโคงราบที่มีรัศมี

                 ความโคงตํ่ากวา ๖๐๐ เมตร จะมีสวนชวยสนับสนุนใหมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุจราจรเพิ่มขึ้น
                                     ๓.๖)  แนวทางดิ่ง ประกอบดวยสวนสําคัญ ๒ สวน คือ ความลาดชันถนน

                 (Grades) และทางโคงดิ่ง (Vertical Curve) โดยทั่วไปแลวทางโคงดิ่งแบบหงาย (Sag Curve)
                 จะมีปญหาดานระยะมองเห็นปลอดภัยไมมากนัก ในขณะที่ทางโคงดิ่งแบบควํ่า (Crest Curve) นั้น

                 จะมีขอจํากัดของระยะมองเห็นที่ปลอดภัยมากกวา สําหรับความลาดชันของถนน พบวา อัตราการเกิด
                 อุบัติเหตุและความรุนแรงจะมีคาเพิ่มขึ้นตามระดับความลาดและความชันถนน และถนนในทิศทางระดับ
                 ลาดลงนั้น มีปญหาความปลอดภัยมากกวาในทิศทางที่ชันขึ้น ซึ่งจะมีผลมากสําหรับการเดินทางของ

                 รถบรรทุกขนาดใหญ โดยเฉพาะที่ระดับลาดชันมากกวารอยละ ๖ พบวา จะมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุ
                 เพิ่มขึ้น และนอกจากนี้บริเวณจุดที่เปนทางโคงราบและมีระดับความลาดชันมาก จัดเปนจุดอันตรายสําหรับ

                 ถนนบริเวณนอกเมืองขนาด ๒ ชองจราจร เนื่องจากผลการศึกษาพบวา มีความถี่การเกิดอุบัติเหตุสูง
                 ดังนั้นการออกแบบทางหลวงใหมีความปลอดภัยควรจะตองพิจารณาออกแบบทางโคงแนวราบ
                 และทางโคงแนวดิ่งควบคูกันไป

                                     ๓.๗) จํานวนชองจราจร คือ จํานวนชองทางเดินรถที่จัดแบงสําหรับการเดินรถ
                 โดยทําสัญลักษณดวยการตีเสนแบงชองจราจรและเครื่องหมายบนผิวทาง เชน ลูกศร เปนตน โดยที่

                 อุบัติเหตุจราจรบนทางหลวงแผนดินและทางหลวงจังหวัดมักเกิดบนทางตรงมากที่สุด โดยเฉพาะสภาพ
                 เสนทางที่ดีเรียบ มักทําใหผูขับขี่ขาดความระมัดระวังและขับรถดวยความเร็วสูง และถนนที่มี ๒ ชองทาง

                 จะเกิดอุบัติเหตุมากกวาถนนที่มี ๔ ชองทาง
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103