Page 36 - รายงานประจำปี 56
P. 36
ด้านอนุรักษ์และคุ้มครองหม่อนไหม
1. โครงการพัฒนาลวดลายผ้าไหมให้กับชุมชนนำาร่อง
ดำาเนินการพัฒนารูปแบบและลวดลายผ้าไหมให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผ้าไหมนำาร่อง จำานวน
2 กลุ่ม ให้มีความหลากหลาย และสอดคล้องกับตลาดในปัจจุบันยิ่งขึ้นควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และสืบสาน
ภูมิปัญญา และจัดทำาลวดลาย ผ้าต้นแบบ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นตัวอย่างและแนวทางในการพัฒนา
ลวดลายผ้าและผลิตภัณฑ์ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำาหนดแนวทางการออกแบบและพัฒนาลวดลายผ้า
ของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผ้าไหม กลุ่มทอผ้าบ้านโป่งถืบ และกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านท่ากระจาย พัฒนาลวดลายผ้า
เป็นแบบร่างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กลุ่มละอย่างน้อย 5 ลวดลาย รวม 2 กลุ่มอย่างน้อย 10 ลวดลาย
แล้วคัดเลือกแบบลวดลายผ้าไหม กลุ่มละ 2 ลวดลาย นำามาจัดทำาเป็นผ้าไหมผืนต้นแบบ (Prototype)
นอกจากนี้ยังได้นำาผ้าไหมผืนต้นแบบที่ผลิตเสร็จแล้ว จัดแสดงผลงานในงานตรานกยูงพระราชทานสืบสาน
ตำานานไหมไทย ประจำาปี 2556
2. โครงการบูรณาการ การตรวจสอบ และ การบริหารจัดการ
มาตรฐานเส้นไหมไทย มกษ. 8000-2555
ดำาเนินการให้คำาแนะนำาและทบทวนเกษตรกรที่เคยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการผลิตเส้นไหม
ไทยสาวมือตามมาตรฐาน มกษ. 8000 ให้กับผู้ผลิตเส้นไหมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ต้องการ
ขอการรับรอง ตรวจประเมินและให้การรับรองเส้นไหมไทยสาวมือตามมาตรฐาน มกษ.8000 กับผู้ขอ
การรับรอง เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ผลิตเส้นไหมไทยสาวมือที่ได้มาตรฐานเส้นไหมไทย
มกษ.8000 กับผู้ประกอบการซื้อเส้นไหม โดยมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำานวน 404 ราย คิดเป็น
ร้อยละ 202 ของตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 จังหวัดได้แก่ อุดรธานี
หนองคาย สกลนคร เลย นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สระบุรี ขอนแก่น
ชัยภูมิ และ มหาสารคาม จำานวนใบคำาขอที่ยื่นขอรับการตรวจประเมิน จำานวน 282 คำาขอ คิดเป็น
ร้อยละ 87.24 ของจำานวนใบคำาขอที่ยื่นขอรับการตรวจประเมิน และจำานวนคำาขอที่ได้ตรวจประเมินจำานวน
246 คำาขอ จำานวนคำาขอที่ผ่านการรับรองจำานวน 150 คำาขอ คิดเป็นร้อยละ 60.98 ของจำานวนคำาขอ
ที่ได้รับการตรวจประเมิน
35
รายงานประจำาปี 2556