Page 50 - โครงการสื่ออิเล็กทรอนิกส์เนย
P. 50
หน้าที่ 47
1. การขจัดสิ่งไร้สาระออกจากสาระ (Leveling) สิ่งไร้สาระเป็นสิ่งที่ไม่น่า
จดจํา ดังนั้น นักการตลาดที่ฉลาดจึงนําเสนอแต่สิ่งที่มีสาระแก่ผู้บริโภค ตัวอย่างที่เห็นได้
ชัด เช่น การโฆษณาเนื้อหา ในโฆษณาจะไม่นําสิ่งที่ไม่ใช่สาระใส่ลงไป
2. การทําให้ส่วนสําคัญมีความเด่นชัดขึ้น (Sharpening) หลังจากที่ขจัดสิ่งไร้
สาระ ออกไปจนเหลือแต่สิ่งสําคัญแล้วก็จะต้องทําสิ่งสําคัญนั้นให้มีความเด่นชัดยิ่งขึ้น
3. การโยงสิ่งที่ได้รับเข้าไปใหม่ให้เข้ากับสิ่งที่มีอยู่ในสมอง (Assimilation)
เป็นความ พยายามดึงความคิดดั้งเดิมของผู้บริโภคที่มีอยู่ในสมองให้ผูกพันกับของใหม่
เช่น แชมพูซันซิลผสม มะกรูด เป็นการโยงใยสิ่งที่ผู้บริโภครับรู้มานานให้เข้ากับสินค้า โดย
ผู้บริโภคทราบว่ามะกรูดมีคุณสมบัติ ทําให้เส้นผมดกดําเป็นเงางาม เป็นต้น
หลังจากนําทฤษฎีการเรียนรู้ทางการตลาดมาประยุกต์ใช้แล้ว จะทําให้ข้อมูล
ข่าวสารที่ ต้องการสื่อสารไปยังผู้บริโภคเป็นข้อมูลประสิทธิภาพ ในขั้นตอนต่อไปนักการ
ตลาดจะต้องพยายาม ทําให้ผู้บริโภคจดจําข้อมูลเหล่านั้นให้ได้ ซึ่งวิธีการที่จะให้ผู้บริโภค
เกิดการจดจํา ได้แก่
1. ทําให้เกิดความประทับใจ การจดจําเกิดขึ้นได้ดีเมื่อมีความประทับใจในสิ่งนั้น
นักการ ตลาดจึงต้องสร้างความประทับใจของผู้บริโภคให้เกิดแก่สินค้า วิธีการที่จะสร้าง
ความประทับใจได้ เช่น การโฆษณา การบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาคุณภาพสินค้า เป็นต้น