Page 48 - โครงการสื่ออิเล็กทรอนิกส์เนย
P. 48

หน้าที่ 45

















                           1. การกระทําซ้ํา (Repetition) การทําซ้ําที่มีความถี่มากจะทําให้ผู้บริโภคเกิด

                  ความ เคยชิน นักการตลาดได้นําการกระทําซ้ํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยทําให้ผู้บริโภคได้

                  พบเห็นตรา สินค้า (Brand name) และโลโก้ (Logo) ของบริษัทบ่อยๆ โดยวิธีการโฆษณา
                  ผ่านสื่อต่างๆ


                           2. การสร้างบทสรุปโดยทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งกระตุ้น (Stimulus generalization)

                  นักวิชาการ เกี่ยวกับทฤษฎีนี้กล่าวว่า การเรียนรู้มิได้เกิดจากการกระทําซ้ําเพียงอย่างเดียว
                  แต่ขึ้นอยู่กับความ สามารถของบุคคลในการสรุปด้วย จากทฤษฎีคลาสสิกพบว่า สุนัขน้ําลาย

                  ไหลเมื่อได้ยิน เสียงกระดิ่ง Pavlov ยังพบอีกว่า ไม่เพียงเสียงกระดิ่งเท่านั้น เสียงอื่นที่มี

                  ลักษณะคล้ายเสียงกระดิ่งก็ ทําให้สุนัขน้ําลายไหลได้เช่นเดียวกัน จากแนวความคิดนี้จะเห็น

                  ได้ว่าสินค้าเลียนแบบสามารถขายได้ เพราะผู้บริโภคเกิดการสับสนระหว่างสินค้าที่ติดตลาด
                  อยู่แล้วกับสินค้าเลียนแบบ หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง สินค้ายี่ห้อที่มีชื่อเสียงติดตลาดอยู่แล้วเมื่อ

                  ออกสินค้าใหม่โดยใช้ชื่อยี่ห้อเดิม มักได้รับการตอบรับจาก ผู้บริโภค

                           3. การจําแนกความแตกต่างระหว่างสิ่งกระตุ้น (Stimulus discrimination)

                  หมายถึง การที่บุคคลเรียนรู้ถึงความแตกต่างของสิ่งกระตุ้นที่ทําให้เกิดการตอบสนอง โดยคิด

                  ว่าไม่ใช่อย่างนั้น ไม่มีทางที่จะเป็นเช่นนั้น เช่น บุคคลทั่วไปเชื่อว่าการดูโทรทัศน์ใกล้ๆ ทําให้
                  สายตาเสีย เมื่อพนักงาน ขายบอกว่าโทรทัศน์ช่วยถนอมสายตา พวกเขาจึงไม่เชื่อ เนื่องจาก

                  เขาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ นี้มาแล้ว
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53