Page 124 - หนังสือเรียน ภาษาไทย พท.21001
P. 124
124 | ห น า
รูปแบบของคํา
คําไทยที่ใชอยูปจจุบันมีทั้งคําที่เปนคําไทยดั้งเดิม คําที่มาจากภาษาตางประเทศ
คําศัพทเฉพาะทางวิชาการ คําที่ใชเฉพาะในการพูด คําชนิดตางๆ เหลานี้มีชื่อเรียกตามลักษณะและ
แบบสรางของคํา เชน คํามูล คําประสม คําสมาส คําสนธิ คําพองเสียง
คําพองรูป คําเหลานี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ผูเรียนจะเขาใจลักษณะแตกตางของคําเหลานี้ไดจากแบบ
สรางของคํา
ความหมายและแบบสรางของคําชนิดตางๆ
คํามูล
คํามูล เปนคําเดียวที่มิไดประสมกับคําอื่น อาจมี 1 พยางค หรือหลายพยางคก็ได แตเมื่อแยก
พยางคแลวแตละพยางคไมมีความหมายหรือมีความหมายเปนอยางอื่นไมเหมือนเดิม คําภาษาไทยที่ใช
มาแตเดิมสวนใหญเปนคํามูลที่มีพยางคเดียวโดดๆ เชน พอ แม กิน เดิน
ตัวอยางแบบสรางของคํามูล
คน มี 1 พยางค คือ คน
สิงโต มี 2 พยางค คือ สิง – โต
นาฬิกา มี 3 พยางค คือ นา –ฬิ – กา
ทะมัดทะแมง มี 4 พยางค คือ ทะ – มัด – ทะ –แมง
กระเหี้ยนกระหือรือ มี 5 พยางค คือ กระ – เหี้ยน – กระ – หือ – รือ
จากตัวอยางแบบสรางของคํามูล จะเห็นวาเมื่อแยกพยางคจากคําแลว แตละพยางคไมมี
ความหมายในตัวหรืออาจมีความหมายไมครบทุกพยางค คําเหลานี้จะมีความหมายก็ตอเมื่อนําทุก
พยางคมารวมเปนคํา ลักษณะเชนนี้ ถือวาเปนคําเดียวโดดๆ
คําประสม
คือ คําที่สรางขึ้นใหมโดยนําคํามูลตั้งแต 2 คําขึ้นไปมาประสมกัน เกิดเปนคําใหมขึ้นอีกคํา
หนึ่ง
1. เกิดความหมายใหม
2. ความหมายคงเดิม
3. ความหมายใหกระชับขึ้น