Page 74 - e-book Health Knowledge Articles
P. 74

รู้เท่าทัน....ความดันโลหิตสูง
                      ทำไมผู้คนจึงตั้งสมญานามให้โรคความดันโลหิตสูงว่า “ฆาตกรเงียบ” ยังมีคนอีกจำนวน

               มากที่ไม่รู้ตัวว่ามีความดันโลหิตสูง เนื่องจากความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่มีการทำลายแบบค่อย
               เป็นค่อยไปและไม่แสดงอาการ หรือเมื่อรู้ตัวว่ามีความดันโลหิตสูงส่วนมากมักจะปล่อยปละละเลย
               ไม่สนใจดูแลตัวเอง

                              โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่ตรวจพบว่าค่าความดัน
               โลหิตอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ    มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ค่าความ
               ดันโลหิตปกติ ควรน้อยกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท  เมื่อมีภาวะความดันโลหิตสูง อยู่เป็น
               เวลานาน จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหัวใจ
               โรคไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อัมพาต เป็นต้น

                      สาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่ทราบชัดเจน มีส่วนน้อยที่จะรู้
               สาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตสูง เช่น ไตวาย เนื้องอกของไต มีความผิดปกติของระบบไหลเวียน
               โลหิต แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ต่อ  การเกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ อายุมากกว่า 35

               ปี มีพ่อหรือแม่ พี่หรือน้องเป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปใน
               ลักษณ ะ คนเมืองมากขึ้น เช่น ขาดการออกกำลังก า ย ภาวะอ้วน ภาวะเครียดเรื้อรัง
               ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่เป็นประจำและรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด
                      อาการของโรคความดันโลหิตสูง ในระยะแรก จะไม่แสดงอาการ ผู้เป็นโรคจะมาพบ

               แพทย์ด้วยโรคอื่น และพบโดยบังเอิญ ส่วนอาการที่อาจพบในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงคือ ปวด
               ศีรษะ มึนงง โดยทั่วไปจะปวดบริเวณท้าทอย และมักจะเป็นในตอนเช้า ถ้าความดันโลหิตสูงมาก
               และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะมีอาการคลื่นไส้ และตามัวร่วมด้วย   ในบางรายอาจจะมีอาการอื่น
               ร่วมด้วย เช่น เหนื่อยง่ายเนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนัก เลือดกำเดาออก

                      การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูงเมื่อตรวจพบควรได้รับการรักษาจากแพทย์
               และต้องปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
                      1. งดอาหารที่มีรสเค็ม เช่น ไข่เค็ม กะปิ เต้าเจี้ยว หมูเค็ม เป็นต้น อาหารที่รับประทาน
                         ควรปรุงด้วยเกลือหรือน้ำปลาในปริมาณน้อยที่สุด

                      2. ลดอาหารมันทุกชนิด และหลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ เช่นขาหมู หมูสามชั้น อาหารประเภท
                         ทอดหรือผัด อาหารที่ปรุงด้วยกะทิ และควรใช้น้ำมันพืช (ยกเว้นน้ำมันปาล์มและ
                         น้ำมันมะพร้าว) ในการปรุงอาหาร

                      3. ควรรับประทานไข่สัปดาห์ละ 1-3 ฟอง



                                                                                            68
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79