Page 72 - e-book Health Knowledge Articles
P. 72

ใส่ใจ 3 อ. บอกลา 2 ส. เลี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง


                      ในปัจจุบันนี้ แม้การแพทย์จะสามารถเอาชนะโรคร้ายต่างๆ มากมาย ทำให้ประชากร

               โลกรอดพ้นจากการเจ็บป่วยเหล่านั้นและมีอายุที่ยืนยาว แต่จำนวนคนที่เป็นโรคเบาหวาน
               โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง   โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเรียกรวมกันว่า
               เมตะบอลิก กลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้นเหตุของการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เป็น
               โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในปัจจุบัน คือ การเพิ่มขึ้นของจำนวนคนอ้วน เพราะอุปนิสัย

               การกินอยู่ที่เปลี่ยนไป มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงในการใช้ชีวิตประจำวัน กินอาหารที่มี
               ไขมันเพิ่มขึ้น   ซึ่งไขมันที่สะสมอยู่ที่พุงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำตาลและระดับไขมันใน
               เลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นตัวนำไปสู่    การเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
                      ปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเสียชีวิตและพิการ ส่วนใหญ่เกิดจากการขาด

               ความรู้ความเข้าใจโรค เมื่อมีอาการแล้วคิดว่าจะดีขึ้นเองหรือลองรักษาด้วยวิธีอื่นก่อน จึงไปรับ
               การรักษาช้า ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด และโรค
               หลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ด้วยการ ใส่ใจ   3 อ. บอกลา 2 ส.  โดยยึดหลัก 3 อ.
               (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) และ 2 ส. (งดสูบบุหรี่ และ ลดการดื่มสุรา)

                      คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจขาด
               เลือด และโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ใส่ใจ 3 อ. บอกลา 2 ส.  ดังนี้
                      อ.อาหาร

                             - ลดอาหารไขมันสูง ลดการกินไขมันที่มาจากสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น
                      เนื้อ นม เนย ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่กินยาลดไขมันอยู่สามารถกินไข่  2 ถึง 3 ฟองต่อ
                      สัปดาห์ ลดกินของมัน ของทอด งดกินขนมปัง เค้ก หรือของทอดซํ้าซึ่งมีกรดไขมันท
                      รานส์มาก ควรใช้นํ้ามันมะกอก นํ้ามันรำข้าวหรือกินไขมันจาก ปลาทะเลและปลานํ้าจืด
                      - ลดอาหารเค็มหรือมีเกลือโซเดียมสูง กินอาหารที่มีรสเค็มลดลงครึ่งหนึ่งและลด

               เครื่องดื่มที่มีรสเค็มลง เช่น เครื่องดื่มผสมเกลือแร่ ลดการเติมนํ้าปลา ซีอิ๋ว เต้าเจี้ยว กะปิ ผงชูรส
               ในอาหาร
                      - ลดอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวานหรือนํ้าตาลสูง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น

               นํ้าอัดลมนํ้าหวาน เครื่องดื่มชูกำลัง นํ้าผลไม้ กินนํ้าตาล ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา







                                                                                            66
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77