Page 75 - e-book Health Knowledge Articles
P. 75
4. หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เกี้ยมอี๋ วุ้นเส้น เผือก
มัน ขนมหวาน และผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่
5. งดบุหรี่ และเหล้า
6. ทำจิตใจให้สบายไม่เครียดและวิตกกังวล หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้อารมณ์เสีย หงุดหงิด
โมโห ตื่นเต้น
7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยการเดิน วิ่ง ขี่จักรยาน โดยเริ่มทีละน้อยๆ
และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึง 30-45 นาทีต่อวัน การออกกำลังกายจะช่วยให้จิตใจผ่อน
คลายจากความเครียด และทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตดีขึ้น แต่ไม่ควรออกกำลังกายประเภท
ที่ต้องออกแรงดึงดัน กลั้นหายใจหรือเบ่ง เช่น การชักเย่อ ยกน้ำหนัก วิดพื้น เป็นต้น
8. สตรีที่มีความดันโลหิตสูงจากยาคุมกำเนิดควรหยุดยา ปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีการ
คุมกำเนิดที่เหมาะสม
9. ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำ และมาตรวจวัด
ความดันโลหิต ตามนัด ยาลดความดันโลหิต ภายหลังรับประทานยาถ้าสังเกตพบว่ามี
อาการหน้ามืด วิงเวียน อาจเป็นเพราะความดันโลหิตต่ำลงมากเกินไป ถ้ามีอาการ
ดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสม ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
อาจจะซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตไว้สำหรับตรวจสอบความดันโลหิตด้วยตนเองและ
บันทึกข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษาสำหรับแพทย์ด้วยอีกทางหนึ่ง
นอกจากการรักษาและป้องกันที่กล่าวมาแล้ว เราสามารถลดระดับความดันโลหิตได้
ด้วยวิธีการ ลดปริมาณเกลือ ด้วยการหันมาทานอาหารที่มีธาตุโพแทสเซียม และแมกนีเซียม
ซึ่งมีมากในผักและผลไม้สด อย่าง กล้วย มันฝรั่ง และผักใบเขียวต่าง ๆ ดื่มน้ำสมุนไพร เช่น
ขึ้นฉ่าย กระเจี๊ยบแดง และบัวบก ผ่อนคลายความเครียดด้วยการฟังเพลง ออกกำลังกายทุกวัน
พักผ่อนให้เพียงพอ นั่งสมาธิวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที จะช่วยรักษาระดับความดันโลหิตได้
แหล่งที่มา : คู่มือรู้ทันโรคและภัยสุขภาพสำหรับประชาชน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
69