Page 113 - 25620605121318noศธ 021028614file02_2
P. 113

ข้อเสนอแนะส าหรับผู้จัดการเรียนรู้
                         การเรียนรู้ในกิจกรรมนี้ เป็นการสร้างสถานการณ์จ าลอง เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ตระหนัก

                  ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการสื่อสารในเรื่องเพศกับคู่ ผู้จัดการเรียนรู้จึงควรกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดให้รอบด้านถึงโอกาส
                  หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและวิธีจัดการหากต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์

                  ข้อสรุปส าคัญจากการจัดกิจกรรม

                         1.  การสื่อสารต่อรองในเรื่องสัมพันธภาพ รวมทั้งเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ขึ้นอยู่กับความชัดเจน
                  ในสิ่งที่ตนเองเลือกและตั้งใจ มีความมั่นใจและพร้อมจะยืนยันความต้องการของตนเองเป็นส าคัญ
                         2.  ปัจจัยที่ส าคัญเรื่องการสื่อสารหรือการต่อรองในคู่มาจาก ปัจจัยส าคัญคือ พื้นฐานความสัมพันธ์
                  ของคู่ ว่าเป็นคนเปิดใจรับฟังความเห็นที่แตกต่างมากน้อย อย่างไร และบนความสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์

                  ที่เท่าเทียมหรือเป็นความสัมพันธ์ที่มีฝ่ายหนึ่งเป็นคนก าหนดอีกฝ่ายต้องตามใจหรือคล้อยตามตลอด รวมทั้ง
                  ภาวะอารมณ์ในขณะที่สื่อสารด้วย
                         3.  กรณีผู้หญิงที่จ ายอมมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ปลอดภัยหรือไม่ได้ป้องกัน เพราะเป็นความรู้สึกกลัว
                  เรื่องเสียความสัมพันธ์กับคู่ กลัวคู่จะมีคนอื่นถ้าเราไม่ตามใจ ส่งผลต่อความไม่มั่นใจในการบอกหรือยืนยัน

                  ในความต้องการของตนเอง
                         4.  กรณีผู้ชาย การเลือกจะใช้ถุงยางอนามัยหรือไม่ อาจจะขึ้นกับการประเมินคู่ที่จะมีเพศสัมพันธ์
                  ด้วยว่า มีความปลอดภัยเพียงใด โดยเฉพาะเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งหากเป็นแฟนหรือเพื่อน

                  หรือคนคุ้นเคยความรู้สึกเชื่อใจไว้ใจ ก็เป็นสาเหตุที่ท าให้ไม่ใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งการประเมินแบบนี้ ท าให้
                  ผู้ชายมีโอกาสเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
                         5.  ถุงยางอนามัย ถูกมองด้วยทัศนคติ เช่น เป็นเรื่องของความไม่ไว้ใจ ถุงยางเป็นเรื่องของผู้ชาย
                  ไม่ใช่ผู้หญิง เป็นต้น แต่ในความจริง ถุงยางอนามัยคือ อุปกรณ์คุมก าเนิดชนิดเดียวที่ป้องกันโรค
                  และไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายผู้หญิง

                         6.  การสื่อสารเพื่อการต่อรองเรื่องเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ควรเป็นการสื่อสารหรือต่อรองก่อนที่จะ
                  อยู่ในสถานการณ์ โอกาสมีเพศสัมพันธ์ เพื่อเป็นการช่วยกันประเมินคู่ว่าคิดเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ ท าให้เรา
                  มีโอกาสไตร่ตรอง ได้มากและมีวิธีการวางแผนในการจัดการเพื่อความปลอดภัย

                         7.  การสื่อสารต่อรองในคู่เกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าจะยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์กันมาก่อน หรือมี
                  เพศสัมพันธ์กันมาก่อนแล้วก็ยังสื่อสารต่อรองได้ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรือเรื่องน่าอายอย่างใด

                  ค าถามท้ายบท

                         1. การมีเพศสัมพันธ์แบบรับผิดชอบหมายถึงอะไร
                         2. เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปฏิเสธการใช้ถุงยางอนามัย จะท าอย่างไร

                         หมายเหตุ :


                                  ให้ผู้จัดการเรียนรู้ศึกษาใบความรู้ที่ 2 และ 3  หรือจากแหล่งความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับ
                            เนื้อหาวัตถุประสงค์










                                                                                                               109
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118