Page 24 - test ebook1
P. 24

จ านงค์  แรกพินิจ

                                                       หน่วยการเรียนที่ 2

                            กระบวนการและวิธีการและการจัดการเรียนรู้เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็ง

                                           และพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน



                       1. กระบวนการเรียนรู้ขององค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน

                              การเรียนรู้ของชุมชนเป็นผลจากการเชื่อมโยงคน ความรู้ และทรัพยากรเข้าด้วยกัน
                       เป็นการเรียนจากการปฏิบัติ  เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน  การเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่

                       ของชุมชนเกิดขึ้นจากคนกลุ่มหนึ่งในชุมชนที่เห็นว่าแนวคิดและระบบที่มีอยู่เดิมไม่สอดคล้องหรือ

                       ตอบสนองความต้องการของชีวิต   คนกลุ่มนี้มักเป็นผู้เริ่มต้นวิพากษ์ระบบและแนวคิดเดิม พร้อม

                       กับการแสวงหาสิ่งใหม่เข้ามาแทน  ยิ่งการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                       แห่งชาติ   ที่รัฐบาลแต่ละยุคจัดท าขึ้นไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนในชุมชน การวิพากษ์ก็จะมีมากขึ้น

                       และหาทางออกก็จะหลากหลายเช่นกัน เช่น กลุ่มออมทรัพย์บ้านคลองหวะ อ าเภอหาดใหญ่ จังหวัด

                       สงขลา  เมื่อ 25 ปีก่อน โดยการไม่ยอมน าเงินที่ได้จากการออมในแต่ละเดือนไปฝากที่ธนาคาร
                       ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของหน่วยงานราชการที่เข้ามาส่งเสริมในขณะนั้น แต่กลับให้กู้ยืมกันเอง ไม่ใช่

                       เพราะความดื้อรั้นอย่างไร้เหตุผล แต่เป็นผลจากการวิพากษ์แนวคิดและระบบออมทรัพย์ที่ทาง

                       ราชการเผยแพร่ว่าเป็นการสร้างความร ่ารวยให้ธนาคาร ความส าเร็จของชุมชนไม้เรียง อ าเภอฉวาง
                       จังหวัดนครศรีธรรมราช  จนก้าวขึ้นเป็นผู้น า เป็นโรงเรียนอุตสาหกรรมยางพาราให้กับชุมชน

                       ชาวสวนยางทั่วประเทศ  ที่เกิดจากการวิพากษ์แนวคิดและระบบตลาดยางพาราเมื่อ 20 กว่าปีมาแล้ว

                       ท าให้ชุมชนไม้เรียงมองเห็นความไม่เป็นธรรมของกลไกตลาดที่กดดันขูดรีดชาวสวนทั้งใน
                       ด้านราคา   น ้าหนักและคุณภาพยางแผ่นดิบ  โรงงานยางแผ่นผึ่งแห้งจึงเป็นทางออกที่จะท าให้

                       ชาวสวนยาง สามารถควบคุมราคา น ้าหนัก และคุณภาพ รวมทั้งสร้างตลาดยางพาราของตนเอง

                              ชุมชนจ านวนมากในทุกภาคของประเทศไทยที่เริ่มต้นเรียนรู้จากการวิพากษ์แนวคิดและ

                       ระบบต่าง ๆที่มีอยู่และร่วมกันหาทางออก  การเรียนรู้ในลักษณะนี้ท าให้ชุมชนสามารถยืดหยุ่นและ
                       ปรับตัวได้พร้อมๆ  กับการรักษาความสัมพันธ์กับภายนอก โดยเฉพาะหน่วยงานราชการ ดังนั้น

                       จึงพบว่า  หลายชุมชนจะรับแนวคิดและรูปแบบของกิจกรรมที่ราชการส่งเสริมมาปฏิบัติก่อน

                       ระยะหนึ่ง   เมื่อเห็นว่าไม่สอดคล้องหรือตรงกับความต้องการของชุมชน  การวิพากษ์ก็จะเริ่มขึ้น
                       และเกิดการปรับเปลี่ยนตามมา เช่น ชุมชนคลองเปียะและชุมชนนาหว้า  อ าเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

                       เป็นตัวอย่างหนึ่งของการเรียนรู้แบบนี้  ชุมชนทั้งสองนี้รับแนวคิดและรูปแบบกลุ่มออมทรัพย์

                       มาจากระบบการส่งเสริมของทางราชการ แล้วปรับเปลี่ยนแนวคิด สร้างรูปแบบของตัวเองขึ้น








                       องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน                                                     19
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29