Page 28 - test ebook1
P. 28
เพิ่มขึ้นก็จะท าให้มีคณะกรรมการเพิ่มขึ้นด้วย เช่น ถ้ามี 3 องค์ต่อชุมชน คนที่จะเรียนรู้และพัฒนา
อย่างรวดเร็วก็จะมีถึง 30 คนดีกว่ามีองค์กรเดียว เพราะโอกาสที่คนจะได้เรียนรู้เพียง 10 คนเท่านั้น
นี่คือการน าเอาองค์กรชุมชนมาใช้จัดการเรียนรู้ของคน ในระยะแรก ๆ พบว่าแนวคิดนี้
แพร่หลายอยู่ในกลุ่มออมทรัพย์ของภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดสงขลา เช่น แนวคิดและการท างาน
ของครูชบ ยอดแก้ว จากชุมชนน ้าขาว ครูมนูญ ศรีธาสินี จากชุมชนทุ่งหวัง และน้าเคล้า แก้วเพชร
จากชุมชนนาแห้ว เป็นต้น
นับตั้งแต่มีการปรับเปลี่ยนปรัชญาการเรียนรู้ของชุมชน โดยเฉพาะหลังจากชุมชนไม้เรียง
ได้ทดลองสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้คนในชุมชนรู้จักตนเอง รู้จักโลก และก าหนดทิศทาง
ในอนาคตของตนที่เรียกว่าแผนแม่บทชุมชนส าเร็จลงวิธีการจัดการเรียนรู้ของชุมชน
ก็ได้ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับปรัชญาให้สอดคล้องกับปรัชญาและกระบวนการที่เปลี่ยนไป
ประสบการณ์จากการเรียนรู้ของชุมชนไม้เรียง กรณีแผนแม่บทชุมชน มีสถาบันพัฒนา
ชนบท มูลนิธิหมู่บ้าน และสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นผู้ถอดประสบการณ์
หรือบทเรียนนี้ออกมาเผยแพร่และทดลองใช้กับพื้นที่อื่นทั่วประเทศ จนสามารวางหลักทั่วไปใน
การจัดการเรียนรู้ของชุมชน
ในยุคสมัยที่ชุมชนและสังคมของเราต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติมากมาย การครอบง าจาก
ภายนอกและความเจริญกว้าหน้าทางเทคโนโลยีชุมชนไม่สามารถมอบบทบาทในการจัดการเรียนรู้
ให้แก่องค์กรที่มีอยู่เพียงฝ่ายเดียวได้อีกต่อไป เพราองค์กรชุมชนส่วนใหญ่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ
ด้าน ดังนั้นวิธีการหรือการจัดการเรียนรู้ใหม่ในรูปคณะท างานที่ประกอบด้วยตัวแทนของทุก
องค์กร กลุ่มอาชีพ ผู้รู้และผู้น าในชุมชน ตลอดจนหน่วยงานและองค์กรปกครองในท้องถิ่น จะท า
ให้เกิดการเรียนรู้อย่างรอบด้าน เรียนในสิ่งที่ต้องรู้ และเรียนในสิ่งที่ควรรู้
2.2 คณะท างานแผนแม่บทชุมชน เป็ นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดจากวิธีการหรือ
การจัดการใหม่ตามที่กล่าวข้างต้น ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการจัดการเรียนรู้แบบนี้เป็นสิ่งที่มี
และเกิดขึ้นจริงในพื้นที่หลายร้อยต าบลทั่วประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า เครือข่าย
ภูมิปัญญาไท คณะท างานซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากส่วนต่าง ๆ ข้างต้นมีการจัดระบบภายใน
ก าหนดบทบาทและภารกิจของคณะท างานแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน เช่น ระดับหมู่บ้าน เป็นต้น
เพื่อให้ระบบและภารกิจบทบาทเหล่านี้เชื่อมโยงกับคนทั้งหมดในชุมชน อันจะน ามาซึ่ง
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
นี่คือการเรียนรู้ใหม่ ต่างจากแบบเดิมที่ค่อนข้างจ ากัดอยู่ในแวดวงของสมาชิกองค์กร
เป็นหลัก ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกต้องอยู่นอกวง
คณะท างานได้วางระบบหรือการจัดการหลายอย่าง เพื่อให้การเรียนรู้เป็ นไป
อย่างกว้างขวางและทั่วถึงทั่วชุมชน ระบบที่ส าคัญมีดังนี้
องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน 23