Page 32 - test ebook1
P. 32

ประเด็นต่าง ๆ  จ านวนมากที่ชุมชนอยากรู้  อยากเห็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง เช่น แบบสอบถาม

                       เรื่องรายได้  ที่มาของรายได้  หนี้สินและแหล่งเงินกู้   แบบส ารวจทรัพยากรและความหลากหลาย
                       ทางชีวภาพของชุมชน องค์กร ชุมชน ผู้รู้และความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน เป็นต้น

                              ชุมชนน าข้อมูลที่ได้จากการส ารวจและแบบสอบถามมาใช้ในการจัดท าแผนและโครงการ

                       พัฒนาตนเอง เช่น น าข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติความรู้และภูมิปัญญาที่มีมาจัดท าโครงการ
                       วิสาหกิจชุมชน แปรรูปหรือสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มรายได้ และทดแทนการซื้อหาจากภายนอก

                       เป็นต้น

                              3.3  การศึกษาดูงาน เป็นเครื่องมือที่ชุมชนใช้เรียนรู้โลกภายนอกเรียนรู้เพื่อนบ้าน

                       เพื่อน าสิ่งที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง
                              การศึกษาดูงานเป็นเครื่องมือที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนนิยมใช้ในงานพัฒนาชุมชน

                       ทั้งเมืองและชนบทในช่วง 20 กว่าปีมานี้  และยังคงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ในส่วนของหน่วยงาน

                       ภาครัฐและองค์กรเอกชนมักใช้การศึกษาดูงานเป็ นเครื่องมือให้ชุมชนเกิดความคิดริเริ่ม

                       ในการพัฒนาตนเองหรือพัฒนากิจกรรมที่ชุมชนด าเนินการอยู่ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
                              อย่างไรก็ตาม การศึกษาดูงานจะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ

                       ปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเตรียมการ เพื่อท าความเข้าใจเบื้องต้นหรือข้อมูลทั่วไปของชุมชน จุดเด่น

                       หรือประสบการณ์เด่นของชุมชน และเตรียมค าถามที่เหมาะสมกับชุมชนที่จะไปศึกษาดูงาน
                       การจัดการในระหว่างศึกษาดูงาน มีวิธีอย่างไร มีใครเป็นพี่เลี้ยงเป็นผู้สรุปเชื่อมโยงประสบการณ์

                       ระหว่างผู้ศึกษาดูงานและชุมชนที่ถูกศึกษา และข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาดูงานในแต่ละครั้ง

                       ซึ่งต้องสรุปให้ตรงประเด็น

                              ในแต่ละปีมีชุมชนจ านวนมากจากทั่วประเทศเดินทางไปศึกษาดูงานในที่ต่าง ๆ ภายใน
                       จังหวัด  ภาค  และระหว่างภาค  แต่ผลที่ได้จากการศึกษาดูงานนั้นไม่แน่ใจว่าจะคุ้มค่ากับเงิน

                       ที่เสียไป   ตรงนี้อาจต้องมีการประเมินโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและปรับกระบวนกันใหม่ เพื่อให้

                       ใช้งบประมาณได้ผลคุ้มค่า
                              ต าบลคลองเปียะเป็นพื้นที่หนึ่งที่ชุมชนนับร้อยแห่งจากทุกภาคของประเทศเดินทางมา

                       ศึกษาดูงานในแต่ละปี  ผู้เขียนมักได้รับการติดต่อให้ช่วยประสานงานให้กับชุมชนเหล่านี้อยู่เนื่อง ๆ

                       นอกจากช่วยประสานติดต่อให้แล้ว ผู้เขียนได้คอยสังเกตกระบวนการศึกษาดูงานของชุมชนเหล่านี้

                       มาไม่น้อยกว่า 10 ปี  สิ่งที่พบและสังเกตเห็นตลอดเวลาคือ ผู้ศึกษาดูงานแทบทุกคณะชื่นชม
                       คลองเปียะที่ประสบความส าเร็จในด้านการจัดการและสามารถพึ่งตนเองในเรื่องเงินทุน และแทบ

                       ทุกคณะได้ข้อสรุปที่แทบจะตรงกันว่า “คลองเปียะเก่งมากที่ท าส าเร็จ แต่บ้านเราท าไม่ได้หรอก

                       เพราะคนไม่สามัคคีกัน” ดูเหมือนว่าผู้มาศึกษาดูงานทั้งหมดเห็นดีเห็นงามไปข้อสรุปนี้ ไม่ว่า
                       ข้าราชการ ผู้น าชุมชน และเกษตรกร







                       องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน                                                     27
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37