Page 31 - test ebook1
P. 31

ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้นี้ ชุมชนได้น ามาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็น

                       ความรู้ใช้แก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง
                              ในช่วงเวลาที่เพิ่งผ่านมานี้ โดยเฉพาะช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในครึ่งหลังปี  พ.ส. 2540

                       การเรียนรู้ของชุมชนภายใต้ปรัชญาใหม่ส่งผลให้เครื่องมือเรียนรู้ได้รับการปรับปรุงและพัฒนา

                       ตามไปด้วย
                              บันทึกในฐานะเครื่องมือเรียนรู้ของชุมชนในยุคนี้ได้รับการออกแบบให้ซับซ้อน

                       ครอบคลุม และมีจุดประสงค์เฉพาะมากขึ้น เช่น บันทึกรายจ่ายของครัวเรือนที่ชุมชนได้ก าหนด

                       ให้ครัวเรือนบันทึกในช่วงท าแผนแม่บทชุมชน มีจุดประสงค์ให้แต่ละครัวเรือนเรียนรู้การอุปโภค

                       บริโภคของตัวเองซึ่งน าไปสู่การลด ละ เลิกการใช้จ่ายที่ไม่จ าเป็นบางรายการ  การผลิตทดแทน
                       การซื้อ และที่ส าคัญบันทึกประเภทนี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว

                              เลี่ยม  บุตรจันทา เกษตรกรบ้านนาอีสาน จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้น าเอาแบบบันทึกรายจ่าย

                       ของครัวเรือนที่คณะท างานแผนแม่บทชุมชนก าหนดขึ้นมาใช้ทุกเย็น  เลี่ยม ภรรยา และลูก ๆ

                       จะนั่งหันหน้าเข้าหากันทุกคนสัญญาว่าจะพูดความจริงต่อกัน และเริ่มบันทึกรายจ่ายของแต่ละคน
                       ลงในแบบฟอร์ม ท าเช่นนี้ทุกวันจนครบ 1 เดือน แล้วน ามาเป็นฐานในการค านวณค่าใช่จ่ายต่อปี

                       ข้อมูลนี้เองที่เลี่ยม  บุตรจันทา  ตัดสินใจเลิกเหล้า เลิกบุหรี่ และการพนันทุกชนิด และน าเงิน

                       ที่เคยใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณปีละ 5-6 หมื่นบาท   มาใช้หนี้ ธ.ก.ส. นอกจากนั้นครอบครัวของเขา
                       ได้เริ่มปลูกทุกอย่างที่กิน และกินทุกอย่างที่ปลูก ท าให้ครอบครัวลดรายจ่ายลงไปได้มาก

                       ความเป็นอยู่เริ่มดีขึ้นเป็นล าดับ

                              คณะกรรมการจัดท าแผนแม่บทชุมชนได้น าข้อมูลจากบันทึกครัวเรือนเหล่านี้
                       มาประมวลภาพของชุมชน ซึ่งเป็ นฐานส าคัญที่จะน าไปสู่การจัดท าแผนงาน/โครงการ

                       ที่จะช่วยให้ชุมชนผลิตและแปรรูป เพื่อลดรายจ่ายและสร้างกระแสการไหลเวียนของเงินทุน

                       ในพื้นที่ของตน

                              3.2  แบบส ารวจและแบบสอบถาม เป็นเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่ชุมชนน ามาใช้เก็บรวบรวม
                       ข้อมูลเอกสารการเรียนรู้ของตนเอง  เป็นเครื่องมือที่ผู้น าชุมชนและชาวบ้านทั่วไปคุ้นเคยและ

                       มีประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือแบบนี้กับหน่วยงานรัฐและเอกชนมาก่อน

                              หลักส าคัญในการน าแบบส ารวจและแบบสอบถามมาใช้คือชุมชนเป็นผู้ก าหนดเนื้อหาหรือ

                       ประเด็นที่ต้องการ และน าข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาความเข้าใจ แก้ไข และพัฒนาชุมชนของตน
                       หากจะเปรียบเทียบกับแบบส ารวจหรือแบบสอบถามที่ชุมชนเคยท าร่วมกับบุคคลหรือองค์กร

                       ภายนอกจะน าข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์นอกชุมชน  ชุมชนไม่มีโอกาสเรียนรู้จากข้อมูลของตนเอง

                       และแทบจะไม่ได้ประโยชน์จากแบบส ารวจหรือแบบสอบถามในช่วงที่ผ่านมา
                              นับจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมา ชุมชนจ านวนมากที่สร้างกระบวนการเรียนรู้และ

                       จัดท าแผนแม่บทได้น าแบบส ารวจและแบบสอบถามตามหลักข้างต้นมาใช้ โดยมีเนื้อหาและ




                       องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน                                                     26
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36