Page 36 - test ebook1
P. 36
1. การวิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการของเครือข่าย
การวิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการของเครือข่าย เป็นการพิจารณาโครงสร้างของ
เครือข่ายหรือสิ่งที่รวมกันเข้าเป็นเครือข่ายซึ่งประกอบด้วยทั้งสิ่งที่เป็นอยู่ และสิ่งที่เกิดขึ้นจากการ
ก าหนดหรือให้ความหมายของการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย และการพิจารณาถึงกระบวนการของ
เครือข่ายที่มีความเกี่ยวข้องกับ 1) การประสานพลัง (synergy) ในการท างานระหว่างบุคคล องค์กร
กระบวนการและสิ่งต่าง ๆ 2) การจัดการตนเองที่เกิดจากการสร้างความสัมพันธ์ ความไร้ระเบียบ
(chaordic) และ ความเป็นระเบียบบนเส้นทางแห่งความร่วมมือและการแข่งขัน และ 3) ความเป็น
พหุลักษณ์ (pluralities) หรือกระบวนการที่หลากหลายซับซ้อนสิ่งที่ด ารงอยู่และกระบวนการที่มี
ความเลื่อนไหลของสิ่งต่าง ๆ เช่น ข้อมูล กิจกรรม ภายในเครือข่ายเหล่านั้น
การวิเคราะห์เครือข่ายโดยนัยนี้ คือ การสร้างความเข้าใจในความเป็นเครือข่าย โดยไม่ยึด
ติดกับสภาวะของเครือข่ายที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ซึ่งอาจเริ่มต้นจากการพิจารณาองค์ประกอบของ
เครือข่ายเพื่อให้รู้ว่า องค์ประกอบที่รวมกันเข้าและเป็นปัจจัยเสริมสร้างให้เกิดการประสานงาน และ
การจัดการตนเองของเครือข่ายนั้น ประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง โดยอาจพิจารณาถึงเงื่อนไขของกาลเทศะ
ที่เกิดขึ้น เช่น สมาชิก จุดมุ่งหมาย การท าหน้าที่ระหว่างกัน การมีส่วนร่วมในการด าเนินการ
กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระบบความสัมพันธ์ และการสื่อสารระหว่างสมาชิก เป็นต้น ซึ่งเป็น
การมองในภาพรวมองค์ประกอบของเครือข่ายทั้งหมด เหมือนดังที่เรามองตัวตนว่า ประกอบด้วย
ธาตุทั้ง 4 ดิน น ้า ลม ไฟ หรือสิ่งที่เป็นอยู่ และสิ่งที่เป็นนามธรรมได้แก่ จิตวิญญาณ การรับรู้ เป็นต้น
ในที่นี้จะกล่าวถึงการวิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการของเครือข่ายใน 2 ลักษณะ คือ
1.1 การวิเคราะห์องค์ประกอบของเครือข่าย สามารถพิจารณาได้จากสิ่งที่เป็นอยู่ และ
สิ่งที่เกิดขึ้นจากการก าหนดในความหมายของการเป็นเครือข่าย
โดยประการแรกสามารถพิจารณาได้จาก สมาชิก วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กฎกติกา ภารกิจ
กิจกรรม และกองทุนของเครือข่าย เป็นต้น ซึ่งเป็ นสิ่งที่มีอยู่ มองเห็นได้ จับต้องได้ และ
เป็นการด าเนินงานของเครือข่าย เช่นว่า มีสมาชิกเท่าไร มีกรรมการหรือไม่ สมาชิกมีความสนใจ
ในกิจกรรมในระดับไหน กฎกติกาของเครือข่ายเป็นอย่างไร มีการเก็บรวบรวมข้อมูลของ
เครือข่ายหรือไม่ มีกิจกรรมพบปะกันหรือไม่ เป้าหมายหลักในการท างานคืออะไร กิจกรรมที่ท า
มีความหลากหลายหรือไม่ มีกองทุนหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สามารถสร้างตัวชี้วัดขึ้นมา
และก าหนดเป้าหมายเพื่อให้เครือข่ายมีกิจกรรมและการด าเนินงานที่ต่อเนื่อง
ส่วนประการหลังพิจารณาได้จากความหมายของการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย เช่น
กระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิก การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพึ่งพาอาศัย ความเท่าเทียมในการให้
และรับ การสื่อสารเพื่อสร้างความหมายและโลกทัศน์ร่วม การสร้างและพัฒนาเครือข่าย
การปรับเปลี่ยนแนวคิดและกระบวนทัศน์ในการท างาน เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว สามารถสร้าง
ตัวชี้วัดหรือสร้างข้อก าหนดขึ้นมาได้ เช่นว่ากระบวนการเรียนรู้ของเครือข่ายสามารถน าไปสู่
องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน 31