Page 39 - test ebook1
P. 39

เครือข่าย เช่น การเรียนรู้ การศึกษาดูงาน การติดต่อสื่อสาร ฯลฯ และ 3) ขั้นตอนการสร้างและ

                       พัฒนาเครือข่าย เช่นการสร้างผู้น า การแสวงหามิตรร่วมคิดร่วมท า การสร้างความไว้วางใจ เป็นต้น

                       2. การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ของเครือข่าย

                              การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ของเครือข่ายนั้น เป็นการพิจารณาถึงระบบ

                       ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน   และคนกับกระบวนการท างานของเครือข่ายในด้านต่าง ๆ  ที่มี
                       ความเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลการติดต่อสื่อสาร และความสามารถในการตอบสนอง

                       ต่อการเรียนรู้ระหว่างคนกับกระบวนการของเครือข่าย  เช่น กิจกรรม โหนด (node) ชุมทาง (hub)

                       และเครือข่ายย่อย (sub network)  ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดทั้งภายในและภายนอกเครือข่าย

                       โบเซแวง ( Jeremy Boissevain,1991 อ้างใน เบญจา  ยอดด าเนิน และคณะ ,2541)  กล่าวถึง
                       ความสัมพันธ์ทางสังคมในลักษณะของเครือข่าย 4 ประการ ได้แก่ 1) ความสัมพันธ์ที่มี

                       ความสัมพันธ์ที่มีความหลากหลาย เป็นความสัมพันธ์เชิงซ้อนที่สามารถอธิบายด้วยทฤษฎีบทบาท

                       (role theory) โดยแต่ละบทบาทจะมีบรรทัดฐานและความคาดหวังเป็นตัวชี้น าแนวทางพฤติกรรม
                       ที่ปฏิบัติในกลุ่ม ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับแนวคิดการเพิ่มพลังอ านาจในการท ากิจกรรมให้กับกลุ่ม

                       ทางสังคม   2 )  ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยน ซึ่งสามารถใช้ทฤษฎี

                       การแลกเปลี่ยน (exchange theory) จากการกระท าที่สังคมก าหนดและคาดหวัง โดยความสัมพันธ์

                       จะต้องอยู่บนการรับรู้และการตัดสินใจในการแลกเปลี่ยน  3)  ความสัมพันธ์ทางสังคมในลักษณะ
                       เท่าเทียมและไม่เท่าเทียม ความสัมพันธ์ที่วางอยู่บนพื้นฐานการแลกเปลี่ยนก่อให้เกิดความสัมพันธ์

                       ในลักษณะของความร่วมมือและการแข่งขันที่จะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนที่สมดุล และไม่สมดุล

                       ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปถึงกระบวนการความเข้มแข็งในขั้นตอนของกิจกรรมสาธารณะของชุมชน
                       ในการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม  4) ความถี่และระยะเวลาความสัมพันธ์ เป็นจุดในการก าหนด

                       พฤติกรรม ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากระบบและลักษณะของการติดตามและประเมินผล

                       จากโครงงานเครือข่ายที่มีกิจกรรมที่ต่อเนื่องแนวคิดการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์
                       การติดต่อสื่อสาร และการพบปะระหว่างกลุ่ม

                              โดยการวิเคราะห์ถึงโครงสร้างความสัมพันธ์ของเครือข่ายนั้น เราสามารถพิจารณาได้จาก

                       ตัวอย่างของกระบวนการท างานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต ที่เชื่อมโยง

                       ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่อยู่ในสถานที่ต่าง ๆ  เข้าด้วยกัน และความสามารถในการตอบสนอง
                       ความต้องการของผู้คนในการค้นหาข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความรู้ ความคิดเห็น

                       การให้ค าปรึกษา และกระบวนการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ  ซึ่งความเป็นข่ายใยที่เชื่อมโยงของระบบ

                       คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตนั้นมีสิ่งที่เกี่ยวข้องกันในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมากมาย ทั้งในด้านข้อมูล
                       ระบบการติดต่อสื่อสารและระบบการบริหารจัดการในเรื่องของผลิตภัณฑ์ (hardware and software)

                       รวมทั้งการจัดการะบบที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม





                       องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน                                                     34
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44