Page 42 - test ebook1
P. 42
3.4 การวิเคราะห์ผลงานของเครือข่ายในด้านการปรับความสัมพันธ์เชิงอ านาจ
เป็นการวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์เชิงอ านาจที่มีผลต่อกระบวนการเรียนรู้ การให้และการรับ
บนความเท่าเทียมของฝ่ายต่าง ๆ ในสังคม โดยมองถึงกระบวนการที่จะก่อให้เกิดการประสาน
ความร่วมมือของทุกฝ่ายทั้งในด้านการอุปถัมภ์ การต่อต้านเชิงอ านาจและการต่อรองผลประโยชน์
เพื่อให้ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของสมาชิกในลักษณะที่เท่าเทียม
และปรับความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของสมาชิกในลักษณะที่เท่าเทียม
และปรับความสัมพันธ์โดยการสร้างปฏิสัมพันธ์ในแนวราบเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างฝ่ายต่าง ๆ
จึงเป็นการวิเคราะห์เครือข่ายอีกนัยหนึ่ง ซึ่งสามารถก าหนดตัวชี้วัดได้ เช่น รูปแบบโครงสร้าง
การท างาน การมีส่วนร่วมในกิจกรรม และกระบวนการตัดสินใจของเครือข่าย เป็นต้น
3.5 การวิเคราะห์ผลงานเครือข่ายในด้านการสร้างชุมชนแนวปฏิบัติ เป็นการวิเคราะห์
ถึงกระบวนการสร้างแรงจูงใจและกระบวนการสร้างแรงจูงใจและกระบวนการท างานภายใต้
กรอบแนวคิดและความรู้ที่เกิดขึ้นจากความสมัครสมานสามัคคีของสมาชิกในเครือข่าย
ที่รวมเข้าเป็นชุมชนแนวปฏิบัติ (communities of practice) ซึ่งเป็นพลังอันแฝงฝังอยู่ในเครือข่าย
กล่าวคือ เป็นการวิเคราะห์เครือข่ายว่า เป็นเสมือนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก
กิจกรรมและกระบวนการต่าง ๆ ในชุมชนแนวปฏิบัติ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจ มีปัญหา หรือ
มีแรงปรารถนา (passion) ในสิ่งหนึ่งร่วมกัน และเสริมสร้างความรู้ ความเชี่ยวชาญในสิ่งที่สมาชิก
ในชุมชนเห็นร่วมกันผ่านการปฏิสัมพันธ์ภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง (พูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ, 2547,
น.4) ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้จาก 1) โดเมน (domain) คือ การก าหนดหัวข้อ/ประเด็นที่ชุมชน
มีแรงปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะน าไปสู่การผลักดันกิจกรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่อง 2) ชุมชน คือ
การรวมตัวกันอย่างสนิทสนม ที่เต็มไปด้วยความไว้วางใจซึ่งเป็นปัจจัยส าคัญที่น าไปสู่
การแลกเปลี่ยนความรู้อย่างจริงใจ และ 3) แนวปฏิบัติ (practice) ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการ
รวมตัวกันของสมาชิกในชุมชน โดยเป็นความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ที่สมาชิกในชุมชนร่วมกัน
สร้างขึ้นและน าความรู้ที่ได้นั้นไปใช้เป็นแนวทางในการท างานประจ าของตน รวมทั้งการน าสิ่ง
ที่ตนเรียนรู้ในงานป้อนกลับเข้าสู่ชุมชน จนกลายเป็นความรู้ที่ลึกซึ้งซึ่งเป็นการจัดการความรู้
แนวใหม่
การวิเคราะห์เครือข่ายโดยนัยนี้ เป็นเสมือนการตั้งค าถามที่ว่า ท าไมเครือข่ายของ
ภาคประชาชนบางแห่งจึงด าเนินการต่อไปได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการสนับสนุนจากภาครัฐหรือองค์กร
ภายนอก และเมื่อทราบถึงค าตอบก็จะพบว่า การร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนที่มีวัตถุประสงค์
เป้าหมายอันเดียวกันนั้น เป็นปัจจัยหลักในการด าเนินงานของชุมชนให้มีความต่อเนื่อง ดังนั้น
การวิเคราะห์เครือข่ายในด้านการสร้างชุมชนแนวปฏิบัติ ก็คือการพิจารณาถึง กลุ่มความสนใจ
การเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และกระบวนการที่ก่อให้เกิดความเลื่อนไหลของข้อมูล
กิจกรรมและผลงานของเครือข่าย
องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน 37