Page 41 - test ebook1
P. 41
3.2 การวิเคราะห์ผลงานเครือข่ายในด้านการสร้างพื้นที่ทางสังคม เป็นการวิเคราะห์
ถึงการเปิ ดและการสร้างช่องว่างทางสังคมที่ให้ผู้คนได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ในกระบวนการท างานของเครือข่าย และกระบวนการตอบสนองต่อความรู้สึกทางด้านจิตใจของ
ผู้คนในเครือข่ายว่าตนเองมีพื้นที่แสดงเจตจ านงในการร่วมกันสร้างพลังและความรู้ใหม่ต่อชุมชน
และสังคมที่ตนอาศัยอยู่ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามาร่วมกันด าเนินการภายใต้วัตถุประสงค์
และเป้าหมายอันเดียวกัน รวมทั้งการขยายขอบเขตการท างานให้กว้างขวางออกไป
ซึ่งเป็นกระบวนการที่ท าให้สมาชิกเกิดความภูมิใจในสิ่งที่ตนได้ร่วมด าเนินการ
โดยการวิเคราะห์เครือข่ายโดยนัยนี้ สามารถพิจารณาได้จากการเสริมสร้างโอกาส
ในการเรียนรู้ การสร้างความพึงพอใจให้กับมวลสมาชิก การสร้างการยอมรับในสังคม
การขยายขอบเขตการท างาน และการสร้างไว้วางใจซึ่งกันและกันของสมาชิก โดยการสร้างพื้นที่
ทางสังคมถือว่าเป็นภารกิจที่ควรพิจารณาอย่างยิ่งในกระบวนการท างานของเครือข่าย
3.3 การวิเคราะห์ผลงานของเครือข่ายในด้านการสร้างตัวตน/อัตลักษณ์ของเครือข่าย
ถ้าเรากล่าวถึงโครงสร้างของตัวตนที่มีองค์ประกอบสามระดับชั้น ได้แก่ ก.บุคลิกภาพชั้นนอก เช่น
พฤติกรรมลักษณ์ย่อย การผดุงตนให้อยู่รอดและความสัมพันธ์อันใกล้ชิด ข.บุคลิกภาพชั้นใน เช่น
กิเลสความคิดยึดติด อัตลักษณ์เฉพาะ และ ค.แก่นกลางบุคลิก เช่น โลกทัศน์ ความเชื่อพื้นฐาน
กลไกการป้องกันตนเอง เป็นต้น (สันติกโรภิกขุ , www.enneagramthailand.com) เราจะพบว่า
การสร้างตัวตนของเครือข่ายก็เช่นเดียวกัน เป็นการแสดงออกซึ่งตัวตนของเครือข่ายที่มีต่อสังคม
โดยเป็นการสร้างจุดยืน และการจัดการตนเองอีกรูปหนึ่งในความเป็นข่ายใยที่มีการเชื่อมต่อกับ
สิ่งต่าง ๆ ซึ่ง คาสเทลส์ (1998) ได้แบ่งกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ไว้ 3 ประการ คือ การสร้าง
อัตลักษณ์เพื่อรับรองความชอบธรรม การสร้างอัตลักษณ์เชิงต่อต้านและการสร้างอัตลักษณ์
เชิงวางแผนซึ่งการสร้างตัวตน/อัตลักษณ์เครือข่ายแต่ละประเภทจะน าไปสู่โครงสร้างทางสังคม
ที่แตกต่าง การสร้างอัตลักษณ์เพื่อความชอบธรรมนั้นจะก่อก าเนิดประชาคม กลุ่มชมรม และ
องค์กรต่าง ๆ การสร้างอัตลักษณ์เชิงต่อต้านจะน าไปสู่การรวมตัวของชุมชนที่ระอุไปด้วยแนวคิด
และการกระท าเชิงต่อต้าน (จากสิ่งรุกรานจากภายนอก) ส่วนการสร้างอัตลักษณ์เชิงวางแผน
เพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ที่ตนมุ่งหมายให้เกิดขึ้น และการสร้างคนที่ท างานเพื่อสังคม
ดังนั้น การวิเคราะห์ผลงานในด้านการสร้างตัวตนของเครือข่าย ก็คือการพิจารณา
ถึงการแสดงออกของเครือข่ายที่เป็นไปเพื่อการสร้างประชาสังคม การชุมนุมต่อต้านสิ่งรุกราน
จากภายนอกหรือการยืนหยัดในสิ่งที่ตนเองเป็น และการพัฒนาตนเองเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ซึ่งอาจพิจารณาได้จากประเด็นหรือตัวชี้วัดในด้านต่าง ๆ เช่น การเสริมสร้างประชาคมการพัฒนา
การสร้างชุมชนแนวปฏิบัติ การค้นหาเป้าหมายของตนเอง การตอบสนองต่อการเรียนรู้ในระดับ
กลุ่มและเครือข่าย การด ารงตนในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง และการประเมินตนเอง
เกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นต้น
องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน 36