Page 38 - test ebook1
P. 38
และความร่วมมือ หรือที่เรียกว่าเป็นสภาวะที่เป็น ความเป็นระเบียบและความไร้ระเบียบ (chaordic)
โดยพิจารณาจากความสามารถในการจัดการความรู้ การปรับตัวของเครือข่าย การสร้างสัมพันธภาพ
และก าหนดแบบแผนพฤติกรรมของเครือข่ายที่แสดงออกต่อสาธารณชนในช่วงเวลานั้น
ซึ่งสามารถก าหนดตัวชี้วัดได้เช่น เครือข่าย มีการจัดการความรู้หรือไม่ ความไหลเวียนของข้อมูล
ข่าวสารของเครือข่ายเป็นอย่างไร กระบวนการเรียนรู้การสร้างสัมพันธภาพและแนวร่วม
ของเครือข่ายเป็นอย่างไร การเสริมสร้าง และการพัฒนาเครือข่ายเป็นอย่างไร เป็นต้น ซึ่งมุ่งเน้น
การจัดการตนเองของเครือข่ายมากกว่าการจัดการและการพึ่งพาจากองค์กรภายนอก
3) การวิเคราะห์ความเป็นพหุลักษณ์ของเครือข่าย เป็นการพิจารณาความหลากหลายของ
เครือข่ายโดยนัยต่าง ๆ เช่น ความหลากหลายของสมาชิก พื้นที่ด าเนินการ กระบวนการ ประเภท
กิจกรรม รูปแบบความสัมพันธ์ การรวมตัว การกระจายตัว การเป็นเนื้อเดียวกันหรือส่วนผสมผสาน
ที่หลากหลาย โครงสร้างที่ออกแบบหรือโครงสร้างความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและ
ความเป็นเครือข่ายย่อยที่สลับซับซ้อนภายในเครือข่ายใหญ่ เป็นต้น ซึ่งลักษณะที่หลากหลายของ
เครือข่ายนั้น จะช่วยให้เรามองเห็นภารกิจ กิจกรรม และการด าเนินการของเครือข่ายที่เลื่อนไหลไป
มา มีวงจรชีวิตที่ขึ้นลง โดยจะต้องท าความเข้าใจและก าหนดเกณฑ์ชี้วัดที่เหมาะสมในการวิเคราะห์
การวิเคราะห์เครือข่ายโดยนัยดังกล่าว เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการ
ของเครือข่ายในภาพรวม ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่น าไปสู่การจัดการเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ เพราะ
เป็นการสร้างความเข้าใจและการเรียนรู้เชิงประเมินถึงสถานการณ์และกระบวนการท างาน รวมทั้ง
การก าหนดเป้าหมายในการพัฒนาเครือข่าย ซึ่งจะต้องมีการก าหนดเกณฑ์ชี้วัดในแต่ละด้าน
ที่เหมาะสม
สรุป การวิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการของเครือข่าย ก็คือ การพิจารณาถึงสิ่ง
ที่รวมกันเข้าเป็นเครือข่าย เช่น สมาชิก วัตถุประสงค์ เป้าหมายจิตส านึกร่วม ภารกิจ กิจกรรม
การเรียนรู้ เป็นต้น และสิ่งที่เป็นบริบท หรือเงื่อนไขปัจจัยต่าง ๆ เช่น กระบวนการประสาน
ความร่วมมือ การจัดตนเอง และการก าหนดแบบแผนความสัมพันธ์ที่หลากหลายของเครือข่าย
แนวคิดการวิเคราะห์เครือข่ายดังกล่าว มีความสอดคล้องกับการประเมินเครือข่าย
ในบางประเด็นของ ลีลาภรณ์ นาครทรรพ (2539, น.250-253) ที่ได้กล่าวถึงตัวชี้วัดเกี่ยวกับ
การจัดการกลุ่ม องค์กรชุมชน และเครือข่าย จากประสบการณ์ของนักพัฒนาชนบทว่า
มีองค์ประกอบที่ส าคัญ 6 ประการ ในการที่จะวิเคราะห์และประเมินกลุ่มและเครือข่าย ได้แก่
วัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่ม กฎกติกา สมาชิก กรรมการ กิจกรรม และกองทุน กลุ่ม/เครือข่าย
และจากการศึกษาของ ปุสตี มอนซอน และคณะ (2546,น.5-7) ที่กล่าวถึงหลักเกณฑ์และ
องค์ประกอบในการท างานและการวิเคราะห์เครือข่าย โดยมองถึงวิธีการทั้งที่เป็นเชิงคุณภาพและ
ปริมาณ โดยก าหนดใช้เกณฑ์พิจารณาการวิเคราะห์เครือข่ายใน 3 ด้าน คือ 1) องค์ประกอบของบ
การท างานเครือข่ายที่ดี เช่น สมาชิก กิจกรรม กระบวนการท างาน 2) ภารกิจการท างานของ
องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน 33