Page 40 - test ebook1
P. 40

ดังนั้น การวิเคราะห์เครือข่ายด้วยการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ในสังคมมุนษย์ ก็คือ

                       การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคล กลุ่มคนองค์กร กิจกรรม กระบวนการท างาน และ
                       รูปแบบความสัมพันธ์อื่น ๆ ที่น าไปสู่การจัดการตนเองและการปรับบทบาทระหว่างกัน

                              นอกจากนี้ การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ของเครือข่าย   ยังสามารถพิจารณาได้จาก

                       องค์ประกอบของเครือข่ายในด้านต่าง ๆ ตามที่กล่าวแล้ว เช่น จิตส านึกร่วม ความสัมพันธ์
                       ของสมาชิก  หลักการ (principle) จุดมุ่งหมาย (purpose) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

                       กับกระบวนการท างาน กิจกรรม โหนด (nodes) ชุมทาง (hub) ระบบการติดต่อสื่อสาร ปัจจัย

                       กระบวนการผลิต และผลผลิตของเครือข่าย ซึ่งอาจจะมีการก าหนดตัวชี้วัดเกี่ยวกับความสัมพันธ์

                       ระหว่างสิ่งเหล่านั้นที่เกิดขึ้นโดยนัยต่าง ๆ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับกลุ่มคน
                       ความสัมพันธ์ระหว่างคน  งาน  กิจกรรม  และความสัมพันธ์โดยนัยอื่น ๆ โดยสิ่งที่ควรพิจารณา

                       เกี่ยวกับโครงสร้างความสัมพันธ์ของเครือข่ายนั้น คือ การเข้าใจถึงกระบวนการเรียนรู้ และ

                       การติดต่อสื่อสาร ซึ่งเป็นเส้นทางการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผู้คนที่จะน าไปสู่การพัฒนาและ

                       การจัดตนเองอย่างต่อเนื่อง

                       3. การวิเคราะห์ผลงานของเครือข่าย

                              การวิเคราะห์ผลงานของเครือข่ายนั้น เป็นวิเคราะห์ถึงผลการด าเนินงานของเครือข่ายที่มี

                       ความเกี่ยวข้องกับปัจจัยในด้านต่าง ๆ ได้แก่  1) การต่อรองและการจัดสรรผลประโยชน์
                       2)  การสร้างพื้นที่ทางสังคม  3)  การสร้างตัวตนของเครือข่าย  4)  การปรับความสัมพันธ์เชิงอ านาจ

                       และ 5)  การสร้างชุมชนความรู้แนวปฏิบัติ โดยการวิเคราะห์ในแนวทางดังกล่าว อาจถือได้ว่า

                       เป็ นการประเมินศักยภาพ การสรุปผลการด าเนินงานและการวัดผลลัพธ์ของเครือข่าย
                       โดยใช้เครื่องมือชี้วัดที่หลากหลาย ซึ่งสามารถวิเคราะห์ในประเด็นดังต่อไปนี้

                              3.1  การวิเคราะห์ผลงานของเครือข่ายในด้านการต่อรองและการจัดสรรผลประโยชน์

                       เป็นการวิเคราะห์ถึงกระบวนการสร้างพลังและอ านาจในการต่อรองของเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับ
                       สถานการณ์ที่เกิดขึ้น   การจัดตนเองและความสัมพันธ์กับสังคม   รวมถึงการจัดสรรผลประโยชน์

                       ระหว่างกัน โดยเป็นการศึกษาวิเคราะห์กระบวนการใช้พลังและอ านาจของเครือข่าย เพื่อให้เกิด

                       การขับเคลื่อนทางสังคม  การปรับเปลี่ยนแนวคิด และกระบวนการท างานในรูปแบบใหม่

                       ที่จะสร้างสรรค์ในสิ่งที่ตนเองด าเนินการและสิ่งที่สังคมส่วนใหญ่ต้องการให้เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น
                       การวิเคราะห์ผลการด าเนินงานของเครือข่ายสิ่งแวดล้อมที่สามารถร่วมกันก าหนดแนวทาง

                       การป้องกันการบุกรุกป่าชายเลน และการต่อรองเพื่อให้ภาครัฐศึกษาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น

                       จากการท าโครงการของภาครัฐ เป็ นต้น ซึ่งสามารถก าหนดตัวชี้วัดในการวิเคราะห์ เช่น
                       การสร้างพลังในการต่อรองของเครือข่าย การจัดสรรผลประโยชน์ระหว่างกลุ่ม และความสามารถ

                       ในการจัดการทรัพยากรในชุมชน   เป็นต้น





                       องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน                                                     35
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45