Page 37 - test ebook1
P. 37

การพัฒนาและการแก้ไขปัญหาของสังคมได้หรือไม่ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายจะเป็นปัจจัยหลัก

                       ที่ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางสังคมได้หรือไม่ การสร้างความรู้และการจัดการความรู้ของเครือข่ายมี
                       ผลที่น่าพอใจหรือไม่ การพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายจะช่วยให้เกิดความลื่นไหลของ

                       ข้อมูล กิจกรรมได้หรือไม่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และความเอื้ออาทรต่อกันจะน าไปสู่การท างาน

                       ที่มีประสิทธิภาพได้หรือไม่  เป็นต้น
                              การวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบของเครือข่ายดังกล่าว  จะเป็นแนวทางหนึ่งในการวิเคราะห์

                       เครือข่าย และเป็นแนวทางที่น าไปสู่การเรียนรู้และการก าหนดตัวชี้วัดของเครือข่าย โดยตัวชี้วัดของ

                       เครือข่ายไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายประเภทใด  อาจมีทั้งความแตกต่างและคล้ายคลึงกัน ซึ่งอาจก าหนด

                       ขึ้นมาตามความเหมาะสมของสถานการณ์และช่วงเวลานั้น ๆ  เพียงแต่สมาชิกแกนน าหรือ
                       ผู้ประสานงานในเครือข่ายมีความรู้มีความเข้าใจ และมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์นั้น ๆ

                       ก็จะเกิดการเรียนรู้และการจัดการตนเองได้อย่างน่าอัศจรรย์

                              1.2 การวิเคราะห์กระบวนการของเครือข่าย สามารถพิจารณาได้จากกระบวนการของ

                       เครือข่าย ซึ่งเป็นกระบวนการที่หลากหลายซับซ้อนและแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา โดยการวิเคราะห์
                       เครือข่ายนัยนี้   เป็นการมองถึงการเข้ามาร่วมกันอย่างมีจุดหมายของบุคคลและองค์กร บนเส้นทาง

                       ของการสร้างสรรค์และการจัดการแนวใหม่ ที่ใช้การประสานพลังและการมองอย่างเป็นองค์รวม

                       เป็นเครื่องมือในการท างาน โดยมีแนวทางการวิเคราะห์ดังนี้
                                     1)  การวิเคราะห์เครือข่ายโดยนัยแห่งการประสานพลัง (synergy) เป็นการพิจารณา

                       ถึงกระบวนการท างานของเครือข่ายที่เป็นการเชื่อมประสานผู้คน   กระบวนการ และสิ่งต่าง ๆ

                       เข้าด้วยกัน  เพื่อให้เกิดการจัดการตนเองและสังคมในแนวทางใหม่ที่มาจากความพึงพอใจและ
                       การประสานผลประโยชน์ระหว่างกัน โดยอาจจะพิจารณาจากกระบวนการท างานในจุดเล็ก ๆ และ

                       การท างานโดยภาพรวมของหน่วยใหญ่ รวมทั้งระบบความสัมพันธ์ที่น าไปสู่การเสริมสร้างพลัง

                       และอ านาจการต่อรอง ซึ่งสามารถก าหนดตัวชี้วัดได้ เช่น การก าหนดวัตถุประสงค์ของเครือข่าย
                       การประสานงานภายในเครือข่าย การติดต่อสื่อสารกับสังคมภายนอก การเข้าถึงช่องทางการสื่อสาร

                       ของมวลสมาชิก และกระบวนการพัฒนาเครือข่าย เป็นต้น ซึ่งการวิเคราะห์เครือข่ายโดยนัยนี้

                       จะช่วยให้เรามองเห็นกระบวนการทั้งหมดของเครือข่ายว่า แท้ที่จริงแล้ว การรวมตัวกัน

                       เป็นเครือข่ายของผู้คนในสังคมนั้นก็คือ การประสานความร่วมมือและการสร้างความสมดุลระหว่าง
                       ความสนใจและกระบวนการท างานของบุคคลที่มาจากความไว้วางใจ การพึ่งพาอาศัย การแข่งขัน

                       และการต่อรองระหว่างกัน

                                     2)  การวิเคราะห์เครือข่ายโดยนัยของการจัดการตนเอง เป็นการพิจารณา

                       ถึงการจัดการตนเองของเครือข่าย ในมิติของการจัดล าดับความสัมพันธ์ระหว่างภารกิจและ
                       กระบวนการที่น าไปสู่การเรียนรู้   การปรับตัว  และการท ากิจกรรมความเคลื่อนไหวในสิ่งต่าง ๆ

                       ของเครือข่าย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมทั้งที่เป็นสภาวะของการแข่งขัน




                       องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน                                                     32
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42