Page 47 - test ebook1
P. 47
2.3) เพื่อโน้มน้าวจิตใจ เป็นการให้ข้อมูลเพื่อสร้างความเชื่อถือ ความชอบ พอใจ
และปฏิบัติตามให้แก่ผู้รับสาร
2.4) เพื่อความบันเทิง เน้นความสนุกสนานและความเพลิดเพลิน
สิ่งที่ต้องระลึกถึงตลอดเวลาในการศึกษาวัตถุประสงค์ของการสื่อสารคือ การสื่อสารแต่ละ
ชนิดมักไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียว แต่มักผสมผสานวัตถุประสงค์หลายอย่างเข้าด้วยกัน
เช่น ได้ความรู้และได้รับความสนุกสนาน เป็นต้น
1.3 ประเภทของการสื่อสาร การสื่อสารสามารถแบ่งได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับจุดประสงค์
ในการแบ่ง โดยทั่วไปนิยมแบ่งโดยใช้จ านวนของผู้สื่อสารซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
1.3.1 การสื่อสารภายในตนเอง มีจ านวนผู้สื่อสาร 1 คน เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ
ในตัวเอง เช่น การคิด ทบทวน วิเคราะห์ สรุปเหตุการณ์และเรื่องราวต่างๆที่ผ่านมาในชีวิต เป็นต้น
1.3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล มีจ านวนผู้สื่อสาร 2 คน เป็นผู้ส่งสารและรับสาร
สลับกัน เป็นการสื่อสารที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน
1.3.3 การสื่อสารกลุ่มย่อย มีจ านวนผู้สื่อสาร 3 คนขึ้นไป อย่างไรก็ตาม
สาระส าคัญของการสื่อสารกลุ่มย่อยไม่ได้อยู่ที่จ านวน แต่เน้นที่การปฏิสัมพันธ์ที่ทั่วถึงระหว่าง
สมาชิก เป็นการสื่อสารที่ต้องการกระตุ้นสมาชิกให้แสดงความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง
1.3.4 การสื่อสารกลุ่มใหญ่ มีจ านวนผู้สื่อสารมาก และไม่สามารถปฏิสัมพันธ์กัน
อย่างทั่วถึง การสื่อสารแบบนี้จึงมักเป็นการสื่อสารทางเดียว เช่น การประชุม การอภิปรายทาง
วิชาการ เป็นต้น
1.3.5 การสื่อสารมวลชน เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารต้องการน าเสนอข้อมูล
ข่าวสารอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ผู้รับสารที่มีจ านวนมากและกระจายอย่างกว้างขวางให้รู้ข้อมูลข่าวสาร
ในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ในอดีตการสื่อสารประเภทนี้เป็นการสื่อสารทางเดียว ปัจจุบัน
เทคโนโลยีสื่อสารคมนาคมก้าวหน้ามากขึ้นจึงได้น าการสื่อสารสองทางเข้ามาใช้ในบางโอกาส
เพราะต้นทุนด้านนี้ค่อนข้างสูงทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา
2. การสื่อสารเพื่อการพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
2.1 ลักษณะของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
2.1.1 การสื่อสารแบบสองทาง เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีปฏิกิริยา
โต้ตอบกันไปมา หรือผลัดเปลี่ยนบทบาทกันไปมา ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
2.1.2 การไหลของข่าวสาร เป็นการสื่อสารที่ทิศทางการไหลของข่าวสาร
หลากหลายทิศทาง ทั้งจากบนลงล่าง จากล่างขึ้นบน การไหลแบบแนวนอน ซึ่งต่างจากการสื่อสาร
กระแสหลักที่ข่าวสารจะไหลจากบนลงล่างเพียงทางเดียว เช่น การไหลของข้อมูลข่าวสารจาก
องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน 42