Page 26 - test ebook1
P. 26
การเรียนรู้เพื่อรู้จักตนเองของชุมชนไม้เรียงไม่ได้จ ากัดเพียงแค่ตั้งหมู่บ้านเมื่อไร ใครตั้ง
แต่จะลงลึกไปถึงพัฒนาการของชุมชน การเปลี่ยนแปลงของชุมชนในช่วงที่ผ่านมา ปัจจัยภายใน
และภายนอกที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้ปัญหาของชุมชน และโครงสร้างสังคมที่
ส่งผลกระทบต่อปัญหาดังนี้ เป็นต้น
การตั้งค าถามต่อระบบ ต่อการจัดการของชุมชนที่มีอยู่เดิม และแสวงหาค าตอบโดยวิธีการ
และเครื่องมือของแผนแม่บทชุมชน ท าให้ไม้เรียงมีทิศทางชัดเจนในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของ
ตนเอง วิสาหกิจชุมชนหลายประเภทถูกก าหนดขึ้น จนชุมชนไม้เรียงกลายเป็ น 8 ชุมชน
8 ผลิตภัณฑ์ ชุมชนผลิตทุกอย่างที่ต้องกิน และกินทุกอย่างที่ผลิต ท าให้ผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่ผลิตขึ้น
ต้องมีตลาดแน่นอน คือชุมชนระดับต าบลจ านวน 8 หมู่บ้าน การผลิตจึงไม่ล้นเกินความต้องการ
จนต้องแข่งขันและตัดราคากันเองอย่างระบบทุนนิยม
นอกจากที่ยกตัวอย่างมาแล้ว ยังมีชุมชนอีกจ านวนมากทั่วประเทศที่ขับเคลื่อนการเรียนรู้
ของตนด้วยการวิพากษ์ การตั้งค าถามแสวงหาค าตอบ สุดท้ายคือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิด
ความรู้แจ้ง ให้เกิดความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน การเรียนรู้แบบนี้จึงเกิดขึ้นต่อเนื่อง
อย่างเป็นกระบวนการ จากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่ง จากกิจกรรมหนึ่งไปสู่กิจกรรมหนึ่ง และ
จากการจัดการแบบหนึ่งไปสู่การจัดการอีกแบบหนึ่ง
2. วิธีการและการจัดการเรียนรู้ขององค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
วิธีการเรียนรู้ของชุมชน หมายถึง การจัดระบบหรือการจัดการของชุมชน เพื่อให้เกิด
การเรียนรู้ภายใต้ปรัชญาและกระบวนการที่ก าหนดขึ้น
วิธีการหรือการจัดการก่อให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ เมื่อวิธีการหรือการจัดการรูปแบบ
การเรียนรู้ของชุมชนก็จะเปลี่ยนไปด้วย
2.1 องค์กรชุมชน หรือองค์กรชุมชน เป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้ที่เกิดจากการ
เชื่อมโยงคน ความรู้ และทรัพยากรของชุมชน องค์กรชุมชน จึงเป็นองค์กรเรียนรู้เพื่อการจัดการ
ทรัพยากรของชุมชน เป็นการสะท้อนให้เห็นหลักเบื้องต้นของการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตใน
ชุมชน ไม่แยกออกเป็นคนละส่วนเหมือนการเรียนรู้ของระบบการศึกษาในปัจจุบัน
ภายในองค์กรชุมชนหนึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ สมาชิกและกฎระเบียบที่ว่าด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก ระหว่างคณะกรรมการกับองค์กร เพื่อให้บุคคลต่าง ๆ เหล่านี้อยู่
ร่วมกันอย่างปกติสุข
ในส่วนของคณะกรรมการอาจมีต าแหน่งต่าง ๆมากมาย เช่น ประธาน รองประธาน
เลขานุการ เหรัญญิก ปฏิคม และประชาสัมพันธ์ เป็นต้น แต่ถ้าพิจารณาจากการปฏิบัติงานจริง
แล้วอาจกล่าวได้ว่าองค์กรชุมชนส่วนใหญ่ มีผู้น า(ซึ่งอาจจะเป็นคนละคนกับประธาน) และผู้ช่วย
ผู้น า ซึ่งหมายถึงกรรมการในต าแหน่งต่าง ๆ คอยช่วยเหลือผู้น า ทั้งนี้เพราะองค์กรชุมชนส่วนใหญ่
องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน 21