Page 285 - ธรรมะบรรยาย2564
P. 285

ธรรมะบรรยาย                                                            ๑๑๒

                        ท่านเจ้าคุณ พระราชปัญญาวชิโรดม                                  ๒๔ มิถุยายน ๒๕๖๔





                     เจริญพรทุก ๆ ท่าน ได้ฟังเสียง “สาธุ” นี่มันปลื้มใจ ดีใจจริง ๆ เพราะคำว่าสาธุนี่เหมือนกับ

                     ี
               เป็นเสยงสวรรค์ “สาธุ” แปลว่า ดีแล้ว ถูกต้องแล้ว ทำไมถึงว่าสาธุ เพราะว่ามันเกิดจากความปลื้ม
                                                                                       ่
               ใจ  เบิกบานใจ  เห็นคนอื่นทำแล้วปลื้มใจด้วย  ดีใจด้วยก็เลยต้องกล่าวคำวา  “สาธุ”  แม้แต่
               พระพุทธเจ้าก็กล่าวสาธเหมือนกัน
                                     ุ
                     อย่างที่เคยกล่าวเรื่อง “นางเปสการี” ถามปัญหา ๔ ข้อ นางตอบได้ พระพุทธเจ้าสาธุเลย สาธุ

               ถึง ๓-๔ ครั้งนะ พระพุทธเจ้าก็สาธุ เพราะว่าแสดงความชื่นชมกับผู้ตอบปัญหาหรือว่าผู้ทำดี เมื่อเรา

               เห็นคนอื่นทำดี เราก็สาธุกับเขาด้วย แสดงว่าเราไม่อิจฉาเขา มีคำนึงหลวงพ่อ เจ้าประคุณ สมเด็จ

               พระญาณวชิโรดมท่านบอกว่า  ท่านดูลิเกสมัยเป็นเด็ก  ตอนเป็นเด็กท่านไปดูลิเกหรือว่าหมอลำ

               ตอนออกแขก มีคำพูดว่า “เราไม่อิจฉาใคร แต่เราไม่อยากให้ใครได้ดี เอ้า ไม่อิจฉาเขา แต่ไม่อยาก

               ให้เขาได้ดี” ท่านก็มาพูด เพราะฉะนั้น เราก็ต้องอนุโมทนาสาธ มันถึงจะถูกต้อง การสาธุนี้เองจะทำ
                                                                        ุ
               ให้เราได้บุญกุศลไปด้วย เบิกบานใจไปด้วย

                     พูดถึงเรื่อง “ปาติโมกข์” แปลว่า สิ่งที่ทำให้สูงยิ่งขึ้น ไม่ตกต่ำ ถ้ารักษาศีลจะทำให้จิตของเรา

               ไม่ตกต่ำ สูงขึ้น โมกขะ ปาติโมกข์ ทำให้สูงขึ้น สูงขึ้นจนหมดกิเลส ดังนั้น ศีลจึงเป็นขั้นพื้นฐานที่การ

               รองรับสมาธิ สมาธิก็เป็นขั้นพื้นฐานที่จะรองรับปัญญาต่อไป เพราะฉะนั้น ศีล สมาธิ ปัญญาต้องไป

               ด้วยกัน เราสวดมนต์มันก็จะเกิดศีล เราสวดมนต์ก็จะเกิดสมาธิ เราสวดมนต์ก็จะเกิดปัญญา ทำไม

               ถึงว่าอย่างนั้น ก็เพราะว่าจตเราจดจ่อ เมื่อเราจดจ่อในบทสวดมนต์ก็เป็นศีลด้วย เพราะว่าเราทำให้
                                        ิ
               เป็นปกติ เป็นนิสัย เมื่อถึงเวลาสวดมนต์ ๑ ทุ่ม เราก็มารวมกัน เรียกว่าศีล รักษากาย กับวาจาของ

               เรา กายของเราไม่ทำร้ายใคร วาจาไม่พูดใส่ร้ายใคร ก็สวดมนต์นี่ก็เป็นศีลแล้ว สมาธิก็จิตจดจ่อตั้ง

               มั่นอยู่ที่บทสวด มันก็เป็นสมาธิ สวดไปเรื่อย ๆ จิตก็ตั้งมั่นไปเรื่อย ๆ การไม่สวดผิดก็เป็นปญญา เรา
                                                                                                 ั
               รู้ว่าบท  ก.ไก่  ข.ไข่ ค.ควาย สวดไปตามลำดับให้ถูกอักขระอย่างนี้ มันก็เป็นปัญญาแล้ว บทนี้บท

               อะไรเราก็สวดไปเรื่อย ๆ อย่างนี้เรียกว่ามีปัญญาในขณะที่สวด ศีล สมาธิ ปัญญาเกิดขึ้นในขณะที่

               สวด  เพราะฉะนั้น  ผู้ที่สวดมนต์หรือสาธยายมนต์ก็เป็นผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้  อย่างเช่น  พระ






                                                          ๒๘๕
   280   281   282   283   284   285   286   287   288   289   290