Page 110 - ทักษะการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา
P. 110
100
จากตัวอย่างทั้ง 2 เรื่องดังกล่าว จะเห็นว่าที่เรียกว่าการวิจัยนั้นประกอบด้วยสิ่งส าคัญ คือ
1. ค าถาม ปัญหา หรือข้อสงสัยต่าง ๆ เช่น อยากรู้ว่าเพื่อน ๆ ใน ศรช. ใช้เวลาว่างท าอะไร หรือ
สงสัยว่าผักบุ้งจะขึ้นได้ดีในดินทรายหรือดินเหนียว
2. กระบวนการหาค าตอบที่เป็นระบบ ไม่ใช่การคาดเดา แต่ต้องไปสังเกต สอบถาม สัมภาษณ์
หรือทดลองปฏิบัติจริง โดยไปศึกษาวิธีปลูกผักบุ้ง การดูแลรักษา แล้วมาปลูกจริง สังเกต บันทึกผล ที่
เกิดขึ้นทุกขั้นตอน
3. รายงานผลการด าเนินงาน หรือเรียกว่า รายงานการวิจัย เป็นการเขียนให้ผู้อื่นทราบ ว่าท าไม
จึงสนใจท าวิจัยเรื่องนั้น ๆ มีวิธีการและขั้นตอนการท าวิจัยอย่างไร และผลสรุปที่ได้จากการวิจัยเป็น
อย่างไร
กิจกรรมที่ 1
ให้ผู้เรียนเขียนสรุปความหมายของการวิจัยตามความเข้าใจของตนเองและน าเสนอในการพบกลุ่ม
ประโยชน์ของการวิจัย
ประโยชน์ของการวิจัย ส าหรับผู้ท าวิจัยเอง มีหลายประการดังนี้
1. ท าให้มีความสนใจ กระตือรือร้น สงสัย อยากรู้อยากเห็นในสิ่งรอบตัว
2. ฝึกการเป็นคนมีเหตุผล เมื่อมีปัญหา ข้อสงสัย ต้องหาค าตอบที่ถูกต้อง ไม่ใช่การคาดเดาหรือ
สรุปเอง
3. ฝึกการศึกษาค้นคว้า จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ
4. ฝึกการเป็นคนช่างคิด ช่างสังเกต อดทน
5. ฝึกการจดบันทึก เขียนเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ
6. ฝึกการท างานร่วมกับผู้อื่น
ประโยชน์ของการวิจัย ส าหรับผู้อื่น/หน่วยงาน/สังคม
1. ความรู้ใหม่ ที่น าไปใช้ในการพัฒนางานด้านต่าง ๆ
2. นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
กิจกรรมที่ 2
ให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้า และยกตัวอย่างว่า มีนวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ อะไรบ้าง
ที่เกิดขึ้นจากผลของการวิจัย