Page 114 - ทักษะการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา
P. 114
104
บทที่ 6
ทักษะการเรียนรู้และศักยภาพหลักของพื้นที่ในการพัฒนาอาชีพ
ในปัจจุบันโลกมีการแข่งขันกันมากขึ้น โดยเฉพาะการประกอบอาชีพต่าง ๆ จ าเป็นต้องมีความรู้
ความสามารถ ความช านาญการ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ผู้ที่ประสบผลส าเร็จในอาชีพของตนเอง จะต้อง
มีการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้สอดคล้องกับการ
เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การที่จะจัดการอาชีพให้ได้ผลส าเร็จนั้น จ าเป็นต้องมีปัจจัยหลายด้าน การ
เรียนรู้ปัจจัยด้านศักยภาพหลักของพื้นที่ เป็นเรื่องที่ส าคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องเรียนรู้
เรื่องที่ 1 ความหมาย ความส าคัญของศักยภาพหลักของพื้นที่ในการพัฒนาอาชีพ
ศักยภาพหลักของพื้นที่ คือ ทักษะการเรียนรู้ที่ส าคัญที่จะต้องน ามาพัฒนา เป็นข้อมูลหลักในการ
ประกอบอาชีพ หรือพัฒนาอาชีพเป็นข้อมูลส าคัญที่จะท าให้การประกอบอาชีพ หรือการพัฒนาอาชีพนั้น ๆ
เพิ่มขีดความสามารถในการยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคม เป็นทักษะการเรียนรู้ที่ค านึงถึงสภาพแต่ละ
พื้นที่ที่มีความแตกต่าง และมีความต้องการของท้องถิ่นไม่เหมือนกัน ความส าเร็จในการประกอบอาชีพ
ในพื้นที่หนึ่ง อาจไม่เป็นความส าเร็จในอีกพื้นที่หนึ่งได้ การศึกษาเรื่องการประกอบอาชีพหรือพัฒนา
อาชีพจึงต้องเน้นการศึกษาศักยภาพหลักของพื้นที่เป็นส าคัญ
ในสภาพปัจจุบันด้วยพลวัตหรือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการสื่อสารเทคโนโลยี
ของโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง ส่งผลต่อสังคมไทย ทั้งการแข่งขันในระดับชาติ และระดับโลก
ทั้งระดับภูมิภาคอาเซียน และทุกภูมิภาคอื่น ๆ ของโลกด้วย การจัดการศึกษาด้านอาชีพในปัจจุบันจึงต้อง
เป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะการเรียนรู้ในการประกอบ
อาชีพ เป็ นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน ซึ่ ง
กระทรวงศึกษาธิการได้ก าหนดยุทธศาสตร์ 2555 ภายใต้กรอบเวลา 2 ปี ที่จะพัฒนา 5 ศักยภาพ ของพื้นที่
ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ สามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักของโลก “รู้เขา รู้เรา เท่าทัน เพื่อแข่งขันได้ใน
เวทีโลก” และกระทรวงศึกษาธิการได้ก าหนดภารกิจที่จะพัฒนายกระดับการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนา
ศักยภาพ และขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงเป็นบุคคลที่มี
ระเบียบวินัยเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีจิตส านึกความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมภายใต้
หลักการพื้นฐาน ที่ค านึงถึงศักยภาพและบริบทของพื้นที่ที่แตกต่างกัน โดยเน้นการประกอบอาชีพให้
สอดคล้องกับหลักการพื้นที่และการพัฒนา 5 ศักยภาพหลัก ของพื้นที่ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ คือ กลุ่มอาชีพ
ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ การบริหารจัดการและบริการ ตาม
ยุทธศาสตร์ 2555 ของกระทรวงศึกษาธิการได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเน้น 5 ศักยภาพของพื้นที่